วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านการวิจัยในสาขาต่างๆ ทางด้าน ดิจิทัล ธุรกิจ และสังคมศาสตร์
  2. เพื่อเป็นแหล่งระดมความคิดในการศึกษาค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาทางด้านดิจิทัล ธุรกิจ และสังคมศาสตร์
  3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแนวความคิดความรู้ ความก้าวหน้าในด้านการวิจัย
  4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านดิจิทัล ธุรกิจ และสังคมศาสตร์
  5. เพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในเชิงปฏิบัติในสภาวการณ์ต่างๆ ทางด้านดิจิทัล ธุรกิจ และสังคมศาสตร์

 ขอบเขต:

        วารสารดิจิทัล ธุรกิจและสังคมศาสตร์ (JDBS) รับบทความวิจัย (Research Article) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานวิจัย และวิทยานิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น ขอบเขตของวารสารดิจิทัล ธุรกิจและสังคมศาสตร์ (JDBS) จะคลอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

  • ดิจิทัล
  • สารสนเทศ
  • เทคโนโลยี
  • บริหารธุรกิจและการจัดการ
  • บัญชี
  • รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  • การท่องเที่ยวและการบริการ
  • เศรษฐศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
  • นวัตกรรมสังคม
  • สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 นโยบายการพิจารณารับตีพิมพ์ผลงาน:

  • คำแนะนำทั่วไป
    1. ผลงานที่เสนอตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน 
    2. ผลงานที่เสนอตีพิมพ์ต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด
    3. ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในบทความถือเป็นทัศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยกับทัศนะเหล่านั้น และไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงฝ่ายเดียว
    4. ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับการสงวนสิทธิตามกฎหมาย การตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับ อนุญาตโดยตรงจากผู้เขียนและมหาวิทยาลัยรังสิตเป็นลายลักษณ์อักษร
  • ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์ วารสารดิจิทัล ธุรกิจและสังคมศาสตร์ (JDBS) รับพิจารณาตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่เป็นบทความวิจัย (Research Article)
  • การพิจารณากลั่นกรองบทความ
    1. บทความที่จะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการและมีประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎี เพื่อให้นักวิจัยสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติที่นักปฏิบัติสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ทั้งในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคมและชุมชน โดยบทความวิจัยที่นำเสนอจะต้องมีระเบียบวิธีวิจัยและ การวิเคราะห์ผลที่ถูกต้อง ส่วนบทความวิชาการต้องมีการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยได้
    2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่านและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ (สำหรับผู้ส่งบทความตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป)
  • กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ (Peer Review)
    1. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบเมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยสมบูรณ์
    2. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบบทความว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการ และประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ
    3. ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อ กลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่านประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยกระบวนการกลั่นกรองนี้ ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-Blind Process)
    4. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ว่าบทความนั้นๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรจะส่งให้ผู้เขียนแก้ไขแล้วส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้งหนึ่ง หรือปฏิเสธ การตีพิมพ์
  • หลักเกณฑ์การตีพิมพ์ต้นฉบับ
  1. ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดวารสารหนึ่งมาก่อน
  2. ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาต้องไม่อยู่ระหว่างเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  3. เนื้อหาในต้นฉบับควรเกิดจากการสังเคราะห์ความคิดขึ้น โดยผู้เขียนเองไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากการอ้างอิงที่เหมาะสม
  4. ผู้เขียนต้องเขียนต้นฉบับตามรูปแบบของต้นฉบับตามข้อกำหนดในระเบียบการส่งต้นฉบับ
  5. ผู้เขียนได้แก้ไขความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) แล้ว
  6. หลังจากผู้เขียนได้แก้ไขเรื่องแล้ว กองบรรณาธิการได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

 

ระเบียบการส่งต้นฉบับ:

          กองบรรณาธิการได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์ลงวารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต  และกองบรรณาธิการสามารถตรวจสอบต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์ เพื่อให้วารสารมีคุณภาพสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้

  1. การเตรียมต้นฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
    • ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษสั้นขนาดเอ 4 โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและซ้ายมือ 3.5 เซนติเมตร ด้านล่างและขวามือ 2.5 เซนติเมตร
    • รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ใช้รูปแบบอักษร Angsana New พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่งดังนี้
      • ท้ายกระดาษ ประกอบด้วย
    • ชื่อเรื่องต้นฉบับของผู้เขียน ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
    • เลขหน้า ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา
      • ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
      • ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
      • ชื่อผู้เขียน ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อเรื่อง (ในกรณีที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้ลงชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาด้วย)
      • ที่อยู่หรือหน่วยงานสังกัดของผู้เขียน ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อผู้เขียน
      • หัวข้อของบทคัดย่อไทย/อังกฤษ ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้ที่อยู่/หน่วยงานสังกัดของผู้เขียน
      • เนื้อหาบทคัดย่อไทย/อังกฤษ ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
      • หัวข้อเรื่อง ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
      • หัวข้อย่อย ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลขตำแหน่งเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย
      • เนื้อหา ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
    • จำนวนหน้าต้นฉบับ ควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า

 

  1. การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับ

เนื้อหาภาษาไทยที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรแปลเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด (ในกรณีที่คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ทับศัพท์ได้) และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อนเนื้อหาต้องเรียงลำดับดังนี้

  1. ชื่อเรื่อง ควรสั้น และกะทัดรัด ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
  2. ชื่อผู้เขียน เป็นภาษาไทย และระบุตำแหน่งทางวิชาการ
  3. ที่อยู่ ระบุชื่อหน่วยงาน หรือสถาบัน และ E-mail ของผู้เขียน
  4. บทคัดย่อ เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง อ่านและเข้าใจง่าย ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อน บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ซึ่งแปลจากบทคัดย่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน ใช้อักษรตัวตรง จะใช้ตัวเอนเฉพาะศัพท์วิทยาศาสตร์
  5. บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย และควรอ้างอิงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
  6. วัตถุประสงค์ ให้ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
  7. วิธีการศึกษา ควรอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ที่มาของกลุ่มตัวอย่าง แหล่งที่มาของข้อมูล การเก็บและรวบรวมข้อมูล การใช้เครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล
  8.  ผลการศึกษา เป็นการเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นลำดับอาจแสดงด้วยตารางกราฟ แผนภาพประกอบการอธิบาย ทั้งนี้ถ้าแสดงด้วยตาราง ควรเป็นตารางแบบไม่มีเส้น ขอบตารางด้านซ้ายและขวา หัวตารางแบบธรรมดาไม่มีสี ตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพขาว-ดำ ที่ชัดเจนและมีคำบรรยายใต้รูปกรณีที่จำเป็นอาจใช้ภาพสีได้
  9. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปผลที่ได้จากการวิจัย ควรมีการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เพียงใด และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการ หรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการนำผลไปใช้ประโยชน์ และการให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต
  10. กิตติกรรมประกาศ เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ช่วยเหลือให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพียงสั้นๆ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้)
  11. เอกสารอ้างอิง ต้นฉบับใช้ระบบการอ้างอิงในเนื้อหา และเขียนเอกสารอ้างอิงตามรูปแบบ APA 6th Edition

การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citations)

1. ใช้การอ้างอิงแบบ นาม-ปี ไว้ในวงเล็บท้ายประโยคที่ต้องการอ้างอิง โดยภาษาไทยระบุ ชื่อ-นามสกุลผู้แต่งตามด้วยปีที่พิมพ์ ภาษาอังกฤษระบุเฉพาะชื่อสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยปีที่พิมพ์ แต่ถ้าชื่อผู้แต่งที่อ้างถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่จะเขียนต่อไป ให้วงเล็บเฉพาะปีที่พิมพ์

2. การอ้างอิงบทความที่มีผู้แต่งมากกว่า 1 คน ภาษาไทยให้อ้างชื่อ-นามสกุล ภาษาอังกฤษให้อ้างเฉพาะชื่อสกุล

          2.1 ผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้ชื่อ-นามสกุล/ชื่อสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน ภาษาไทยใช้ชื่อ-นามสกุลจริงเชื่อมด้วย “และ” ภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลเชื่อมด้วยเครื่องหมาย “&”

          2.2 ผู้แต่ง 3-5 คน การอ้างครั้งแรกให้ใช้ชื่อสกุลของผู้แต่งทั้งหมด (ภาษาไทยใช้ชื่อ-นามสกุลจริง) คั่นระหว่างผู้แต่งแต่ละคนด้วยเครื่องหมาย “,” และใช้เครื่องหมาย “&” ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย (ภาษาไทยใช้ “,” คั่นระหว่างชื่อ-นามสกุลผู้แต่งแต่ละคน และใช้คำว่า “และ” ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย) หากเป็นการอ้างอิงผลงานเดิมในครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้ใช้ชื่อสกุลผู้แต่งคนแรก ตามด้วย et al. โดยคำว่า et al. มีจุดหลังคำว่า al. เท่านั้น (ภาษาไทยใช้ชื่อ-นามสกุลผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคณะ”) และตามด้วยปีที่พิมพ์

          2.3 ผู้แต่ง 6 คนขึ้นไป ให้ใช้ชื่อสกุลของผู้แต่งคนแรก ตามด้วย et al. (ภาษาไทยตามด้วยคำว่า “และคณะ”) แล้วตามด้วยปีที่พิมพ์ ในทุกครั้งของการอ้างอิง

          2.4 กรณีอ้างอิงผลงานมากกว่า 1 ชิ้น ให้ใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างบทความแต่ละเรื่อง และเรียงลำดับอ้างอิงตามตัวอักษรของชื่อสกุลผู้แต่งคนแรก

          2.5 การอ้างอิงโดยใช้คำพูดโดยตรงของผู้เขียนผลงาน (Direct quote) ให้ใส่เลขหน้าในการอ้างอิงด้วย

การอ้างอิงท้ายบทความต้นฉบับ

เป็นการรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหา นำมาจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ “เอกสารอ้างอิง”

  1. การเรียงลำดับเอกสารอ้างอิง ให้เรียงเอกสารภาษาไทยขึ้นก่อน ตามด้วยเอกสารภาษาอังกฤษ
  2. ภาษาไทยผู้แต่งใช้ชื่อและนามสกุล ภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุล และอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง
  3. กรณีเอกสารอ้างอิงไม่จบภายในบรรทัดเดียว บรรทัดแรกให้พิมพ์ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย บรรทัดถัดมาให้ย่อหน้า
  • หนังสือ (ชื่อหนังสือพิมพ์ตัวเอียง)

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ผู้แต่ง 1, และผู้แต่ง 2. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

  • บทในหนังสือ (ชื่อหนังสือพิมพ์ตัวเอียง)

ชื่อผู้แต่งบทความหรือบท. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความหรือบท. ใน หรือ In ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.), ชื่อหนังสือ (น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

  • หนังสือพิมพ์ออนไลน์ (ชื่อหนังสือพิมพ์พิมพ์ตัวเอียง)

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, วัน เดือน). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์. สืบค้นจาก http://www …………

  • วารสาร (ชื่อวารสาร และปีที่ เป็นตัวเอียง)

ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.

  • วิทยานิพนธ์ (ชื่อวิทยานิพนธ์ พิมพ์ตัวเอียง)

ชื่อผู้นิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์. สถาบันการศึกษา.

  • สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ พิมพ์ตัวเอียง)

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่สารนิเทศบนอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความ. สืบค้นจาก http://www …………

 

  1. การส่งต้นฉบับ

ผู้เขียนส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารวารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ทางในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่  https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/jdbs/

 

  1. การอ่านประเมินต้นฉบับ

ต้นฉบับจะได้รับการอ่านประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้นๆ จำนวน 2 ท่านต่อเรื่องและส่งผลการอ่านประเมินคืน ผู้เขียนให้เพิ่มเติม แก้ไข หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี

 

  1. ลิขสิทธิ์

ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นลายลักษณ์อักษร

 

  1. ความรับผิดชอบ

เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์