A Study of Impact and Adaptation among Salaryman for Entering into the Cashless Society

  • มนต์ทนา คงแก้ว Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Srivijaya, 2/3 Ratchadamnoen Nok Rd., Boon Muang, Songkhla 90000
Keywords: รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาผลกระทบและการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมทางการเงินของมนุษย์เงินเดือน 2) เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของมนุษย์เงินเดือน และ 3) ศึกษาผลกระทบและแนวทางในการปรับตัวจากการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานประจำอยู่ใน 2 อำเภอของจังหวัดสงขลา เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถามทั้งปลายปิดและปลายเปิด สถิติที่ใช้สำหรับงานวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ และวิธีการสกัดปัจจัยแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis). ผลการวิจัย พบว่า 1) เงินสดยังมีความจำเป็นต่อการใช้จ่าย ร้อยละ 82 รูปแบบการชำระเงินที่นิยมใช้ คือ บัตรเครดิต บัตรเดบิต เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ร้อยละ 23.44 มีความพร้อมในการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ร้อยละ 33.5 2) ภาพรวมของการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด อยู่ในระดับมาก ( =3.66) โดยส่วนใหญ่ต้องการให้ทุกภาคส่วนมีความร่วมมือกันวางระบบโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไร้เงินสด ( =4.26) 3) ภาพรวมของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสด อยู่ในระดับมาก ( =3.81) โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะมีแนวโน้มค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นเกิดขึ้น ( =4.02) และมีความกังวลด้านความปลอดภัยของบัญชีและข้อมูลส่วนตัว ( =4.01) อีกทั้ง ภาพรวมของแนวทางในการปรับตัวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.21) โดยการหาข้อมูลเพิ่มเติมให้เกิดความรู้อย่างชัดเจน ( =4.49) และลดการใช้เงินสดและให้ความสำคัญกับเงินสดน้อยลง ( =4.37) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า จำนวนบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่กลุ่มตัวอย่างถือครองอยู่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อ ระดับการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.186) และสามารถจัดองค์ประกอบปัจจัยร่วมได้ทั้งหมด 7 ปัจจัย อธิบายความผันแปรของตัวแปรได้ร้อยละ 80.38 คำสำคัญ: ผลกระทบและการปรับตัว, สังคมไร้เงินสด, มนุษย์เงินเดือน

Abstract

The study of Impact and Adaptation Among Salaryman for Entering into Cashless Society aimed to: 1) explore the financial behaviour of the salaryman, 2) examine a salaryman’s perceptions and attitude in gearing to the cashless society, and 3) investigate the impacts and adaptation guideline for entering into the cashless society. There were 400 salarymen from 2 districts in Songkhla Province participating in the study. The research instrument was questionnaires with close and open ended questions. The data collected were analyzed for frequency, percentage, average, standard deviation, Multiple Regression Analysis, and Principle Component Analysis.

The results were as the followings.

1)  There were 82 percent agreed that using cash was still necessary. The popular cashless payment method was payment by credit card, debit card, e-money, and e-wallet (23.44%) whereas the readiness in gearing to the cashless society was only 33.5 percent. 2)  The overall perception and attitude among salarymen was at the high level (=3.66). Additionally, most of the participants wanted participation from all sectors in planning the infrastructure system according with the cashless society context. 3)  The overall impacts that would occur in the cashless society was at high level (=3.81).  Most of participants anticipated that the overpayment would occur (=4.02) and there was anxiety in account and personal security (=4.01). Moreover, the overall of adaptation guideline in gearing to the cashless society was at very high level (=4.21). The participants agreed on gaining more knowledge for increasing more understanding at the very high level (=4.49).  Similarly, salarymen highly rated on decreasing of using cash and giving cash priority (=4.37). The hypothesis testing showed that number of participants’ electronic money cards positively affected their perception and attitude in gearing to the cashless society with the significance of 0.05 (r = 0.186). According to the study, it could be categorised the co-factors into 7 groups which could highly describe the instability of variables (80.38%).    

Keywords: Impact and Adaptation, Cashless Society, Salaryman

Published
2021-08-09