การจัดการความขัดแย้งของสังคมและการเมืองไทย ช่วง 2551 -2555

  • อรอนงค์ พุกกะคุปต์
  • ชัยโรจน์ เจริญชัยกรณ์
  • นิภาพร พุทธพงษ์
##plugins.pubIds.doi.readerDisplayName##: https://doi.org/10.14456/jrgbsrangsit.2015.8
Keywords: ความขัดแย้ง, การเมืองไทย, ความปรองดอง

Abstract

                  วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เพื่อ วิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งของสังคมและการเมืองไทย ช่วง พ.ศ. 2551 -2555 รวมทั้ง การแสวงหาหนทางที่จะสามารถใช้กลไกของสภาพัฒนาการเมือง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างความปรองดองแห่งชาติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วย นักการเมือง นักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน

                  ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของความขัดแย้งคือความต้องการอำนาจและผลประโยชน์ จากการศึกษาประเภทของความขัดแย้งทางการเมืองนั้น เกิดจากผลประโยชน์มากที่สุด วิธีการแก้ปัญหาในการจัดการความขัดแย้งที่ดีและเหมาะสมในปัจจุบันคือการบูรณาการหรือการรวมตัวกัน  อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งที่ผ่านมามุ่งเฉพาะแต่การเอาชนะกันเท่านั้น  นอกจากนี้ปัญหาที่เกิดจากความไว้วางใจในตัวบุคคลได้กลายเป็นผลกระทบที่สำคัญ  ดังนั้น การแก้ปัญหา คือ การใช้วิธีที่สงบโดยใช้กฎหมาย หลักความยุติธรรม หลักคุณธรรมและจริยธรรม ด้วยความร่วมมือของภาครัฐและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง  คนไทยสามารถที่จะสนับสนุนทางการเมืองได้โดยอาศัยหลักใน 3 ประการด้วยกัน อันได้แก่ หลักความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา   จากข้อเสนอแนะของการศึกษานั้นระบุไว้ว่าความเครียดควรอยู่ในคนที่มีความรู้เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  การส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อจัดการความขัดแย้งที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่ต้นแบบที่เป็นเป้าหมาย  โดยการสนับสนุนการทำงานของประชาชนทั้งในระดับหมู่บ้านและตำบล  สนับสนุนเครือข่ายภายในที่มีศักยภาพในการจัดการความขัดแย้ง  นอกจากนี้มุ่งสร้างแรงขับเคลื่อนตามมาตรฐานทางสังคมมากกว่าการแก้ปัญหาของผู้มีอำนาจทางการเมืองและการทหารที่เป็นอยู่  สร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองในกับเด็ก เยาวชนและประชาชน  มีการสร้างความเข้มแข็งภาคพลเมืองโดยการให้รางวัลแก่ชุมชน  รวมทั้งชื่นชมหรือสรรเสริญการทำงานของนักการเมืองที่ดี  สร้างบรรยากาศที่อยู่ร่วมกันโดยใช้หลักการของความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ซึ่งไม่เพียงปัญหาเรื่องความสามัคคีของคนในชาติเท่านั้นที่จะหมดไปหรือลดลงแต่รวมถึงทุกปัญหาทางการเมืองของไทยด้วย  การหันกลับมารักประเทศชาติจะสร้างความมั่นคงน่าอยู่อาศัยและการยึดถือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพร้อมใจกันเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติเป็นสิ่งที่จะทำให้ดินแดนนี้มีความสุขตลอดไป

Published
2015-12-18