Provision of Public Service of Social Welfare and Life Quality Development Through Principles of Buddhism by Municipalities in Thailand

  • สุชาดา โพธิ์จักร์
Keywords: Public Service, Buddhism, Municipality

Abstract

                   The public services are major missions of all local government offices. This direct responsibility has been carried by various government agencies under Decentralization Act (B.E. 2542), allowing people to access to quality public services equally.  In this study, the selected municipalities’ public services were those in the area of social welfare and life quality, which followed the principles of Buddhism (morality).  This current study aimed 1) to investigate social, economic, and political contexts affecting municipalities’ public services of social welfare and life quality development in the country, 2) to study the public service tactics and strategies, and 3) to study problems in providing those services based on the principles of Buddhism and offer recommendations to the problems. The subjects of this qualitative research were three purposively selected municipalities in Thailand.

                   The results showed that in terms of social contexts, both urban and rural communities still maintained their traditional culture; harmonious cooperation, solidarity, and caring were found among people.  Regarding economic contexts, both provincial and local economy was  based on free trade. People in the communities were skillful in running their business and in managing community’s production.  And with respect to politic contexts, the local democratic development was seen; people’s participation took place on both policy and management scales. This was regarded as a good sign that people voices were heard.  As a result, the public services, social welfare, and development of life quality in children, women, the elderly, were sustainably successful.  Considering strategies to improve public services, each municipality applied the principles of Buddhism (morality) differently and concurrently to each client group. And not all principles were applied to the groups evenly. The results also showed some problems that top, middle management and operators had faced from providing public services based on Buddhist principles.  The researcher proposed operational suggestion as a guideline for the government to consider in determining further public service policies.

Author Biography

สุชาดา โพธิ์จักร์

                    การจัดบริการสาธารณะเป็นภารกิจสำคัญที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบต้องดำเนินการทั้งตามอำนาจหน้าที่และตามที่ได้รับถ่ายโอนจากส่วนราชการต่างๆ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน การศึกษาวิจัย เรื่อง การให้บริการสาธารณะด้านสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักพุทธธรรมของเทศบาลในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ส่งผลต่อการให้บริการสาธารณะด้านสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลในประเทศไทย  (2) ศึกษากลยุทธ์ในการให้บริการและ (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการให้บริการสาธารณะด้านสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักพุทธธรรมของเทศบาลในประเทศไทย  การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย เทศบาลจำนวน 3 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเชิงดอย จังหวัดเชียงใหม่  เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

                   ผลการวิจัย พบว่า บริบททาง ด้านสังคมประชาชนในชุมชนยังรักษาไว้วัฒนธรรมเดิมๆ มีความร่วมมือ ร่วมใจกัน มีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการดำเนินธุรกิจ การบริหาร จัดการด้านการผลิต  ด้านการเมือง การปกครองแบบมีส่วนร่วมในชุมชน ที่เรียกว่า ชุมชนประชาธิปไตย ส่งผลให้การให้บริการสาธารณะด้านสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักพุทธธรรมใน เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ของเทศบาลประสบความสำเร็จและยั่งยืน ด้านกลยุทธ์การให้บริการสาธารณะด้านสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักพุทธธรรมของเทศบาล  พบว่า  ในแต่ละเทศบาลมี การใช้หลักพุทธธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มผู้รับบริการ และมีการใช้หลักพุทธธรรมที่หลากหลายไม่ครบทุกประเด็น ผสมกลมกลืนกันไป

Published
2016-12-16