การศึกษาแนวทางการตลาดบริการเพื่อเพิ่มยอดอนุมัติสินเชื่อธุรกิจ ของสำนักสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ SMEs 1 ธนาคารออมสิน
Abstract
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการเพื่อการเพิ่มยอดสินเชื่อธุรกิจ ของสำนักสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ SMEs 1 ธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมีการใช้บริการสินเชื่อธุรกิจ และมีสถานประกอบการในจังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และบทสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คน นำมาสรุปบรรยาย และรวบรวมนำข้อมูลจากแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ด้วยสถิติ Chi-Square การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 36-45 ปี ประกอบธุรกิจอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค มียอดขายต่อปีอยู่ในช่วง 41-60 ล้านบาท พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ใช้บริการ 3-4 ครั้งต่อเดือน มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจอยู่ในช่วง 21-30 ล้านบาทมากที่สุด และมีความคาดหวังว่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับผลกำไรของบริษัท// กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ 3 อันดับ ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดบริการ (2) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์บริการ (3) ปัจจัยด้านราคา จากการวิเคราะห์ค่าสถติ Chi-Square พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมมีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ 0.05 จึงได้มีการกำหนดแนวทางในการเพิ่มยอดอนุมัติสินเชื่อคือ การทำการตลาดเชิงรุกของพนักงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนให้กับพนักงานสินเชื่อ ในด้านข้อมูลลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของธนาคาร การส่งเสริมการตลาดจากส่วนกลาง และการกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคล
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม