• THE 18TH RSU NATIONAL GRADUATE RESEARCH CONFERENCE
    Vol 18 (2566)

    วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2566 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 18 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  โดยได้รับเกียรติบบรรยายพิเศษ (Online) หัวข้อ “An Analysis of Three Chatbots: BlenderBot, ChatGPT and LaMDA” โดย Prof. Daniel O'Leary University of Southern California, USA.* และ หัวข้อ “The Comparison of Customer Experiences between AI vs. Human Influencers on Attitude toward Products” โดย Prof. Gee-Woo Bock Sungkyunkwan University, Korea* จากบทความที่สมัครและส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 54 เรื่อง จาก 4 สถาบันการศึกษา ผ่านการประเมินทางเนื้อหาและวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ จำนวน 54 เรื่อง จาก 4 สถาบันการศึกษา

  • THE 17TH UTCC NATIONAL GRADUATE RESEARCH CONFERENCE
    Vol 17 (2565)

    วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2565 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 16 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  โดยได้รับเกียรติบรรยายพิเศษหัวข้อ “Challenges in Human Capital Development : An Economists Perspective” โดย รองศาสตราจารย์ดร.วรีะชาติกิเลนทอง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย และ คณบดีคณะปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จากบทความที่สมัครและส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 62 เรื่อง จาก 7 สถาบันการศึกษา ผ่านการประเมินทางเนื้อหาและวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ จำนวน 59 เรื่อง จาก 6 สถาบันการศึกษา

  • THE 16TH RSU NATIONAL GRADUATE RESEARCH CONFERENCE
    Vol 16 (2564)

    วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2564 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 16 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  โดยได้รับเกียรติบรรยายพิเศษหัวข้อ “เกษตรแนวใหม่ในสถานการณ์โควิด 19” โดยคุณอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  จากบทความที่สมัครและส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 176 เรื่อง จาก 14 สถาบันการศึกษา ผ่านการประเมินทางเนื้อหาและวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ จำนวน 176 เรื่อง จาก 14 สถาบันการศึกษา

  • The 15th RSU National Graduate Research Conference
    Vol 15 No (2563) (2563)

    วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2563 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต และ RSU Cyber University  มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  โดยได้รับเกียรติบรรยายพิเศษหัวข้อ “Digital Economy 2020” โดยคุณอนุสรณ์ หล่อวิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด  จากบทความที่สมัครและส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 274 เรื่อง จาก 32 สถาบันการศึกษา ผ่านการประเมินทางเนื้อหาและวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ จำนวน 269 เรื่อง จาก 31 สถาบันการศึกษา

  • The 14th UTCC National Graduate Research Conference
    Vol 14 (2562)

    วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2562 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14 โดยมีเจ้าภาพร่วม 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย โดยได้รับเกียรติบรรยายพิเศษหัวข้อ “People of Tomorrow” โดย คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล (คุณไวท์) CEO บริษัท FireOneOne มีบทความวิจัยที่สมัครและผ่านการประเมินทางเนื้อหาและวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) จำนวน 53 ท่าน จาก 24 สถาบัน ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ จำนวน 168 เรื่อง จาก 4 สถาบันการศึกษา

  • The 13th RSU National Graduate Research Conference
    Vol 13 (2561)

    วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2561 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  โดยได้รับเกียรติบรรยายพิเศษหัวข้อ “Digital Transformation for Achieving Thailand 4.0” โดยคุณสีหนาท ล่ำซำ  ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสาย Payments Product Development & Solutions Division ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  จากบทความที่สมัครและส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 323 เรื่อง จาก 31 สถาบันการศึกษา ผ่านการประเมินทางเนื้อหาและวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) จำนวน 133 ท่าน จาก 36 สถาบัน  ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ จำนวน 301 เรื่อง จาก 31 สถาบันการศึกษา

  • The 12th RSU National Graduate Research Conference
    Vol 12 (2560)

    วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2560  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ภายใต้หัวข้อ “Education 5.0 for Thailand 4.0” ได้รับเกียรติบรรยายพิเศษ โดย พล.อ.ดร.พหล  สง่าเนตร รองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการศึกษา และประธานคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการเรียนรู้   ในส่วนของบทความที่ส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 188 เรื่อง จาก 18 สถาบันการศึกษา ได้ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยคณะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา จำนวน 75 ท่าน จาก 28 สถาบัน ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 181 บทความ 

  • The 11th Graduate Research Conference 2016
    Vol 11 (2559)

    ปีการศึกษา 2559  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 11 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  และมีการเสวนาหัวข้อ “การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับบริบทความมั่นคงปัจจุบัน” โดย คุณชนิตร ชาญชัยณรงค์ กรรมการหอการค้าไทย/ประธานสภาธุรกิจไทย-กัมพูชา, คุณวิสาร ฉันท์เศรษฐ์ ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย และ รศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์ รองอธิการบดีอาวุโสพัฒนาศักยภาพองค์กร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  มีบทความวิจัยที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยคณะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา  ได้นำเสนอผลงานในที่ประชุมฯ และตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) จำนวน 107 บทความ

  • The 10th Graduate Research Conference 2015
    Vol 10 (2558)

    วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 10 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ภายใต้หัวข้อ “การเชื่อมโยงงานวิจัยและงานวิชาการในกลุ่มอาเซียน” โดยการเสวนาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากภาคการศึกษา  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ  และจากภาคธุรกิจ คือ ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยี บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย    ในส่วนของบทความที่ส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 131 เรื่อง จาก 15 สถาบันการศึกษา ได้ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยคณะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา จำนวน 71 ท่าน จาก 30 สถาบัน ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์ผลงานในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์นี้จำนวน 125 บทความ

  • The 9th Graduate Research Conference 2014
    Vol 9 (2557)

    วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย  มีการเสวนาหัวข้อ “Opportunities and Challenges of Logistics in ASEAN” จากผู้ทรงคุณวุฒิในภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคธุรกิจ: คุณเตชะ บุณยะชัย รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย - ภาครัฐบาล: คุณพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร - ภาคความมั่นคงของประเทศ: พลตรี ไชยอนันต์ จันทคณานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ - ภาคการศึกษา: รศ.ดร.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์  รองศาสตราจารย์ วิศวกรรมขนส่ง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ในส่วนของบทความที่ส่งเข้าร่วมโครงการจำนวน 179 เรื่อง จาก 10 สถาบัน ได้ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยคณะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา จำนวน 69 ท่าน จาก 29 สถาบัน ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 171 บทความ

  • 25th Anniversary College of Engineering and Graduate Research Conference, Rangsit University, 2013
    Vol 8 (2556)

    วันที่17 ตุลาคม พ.ศ. 2556 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม "การประชุมวิชาการในโอกาสครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ และการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2556" มีเจ้าภาพร่วมอีก 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  และสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย  โดยมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชาติ” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ  รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม  ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  มีบทความวิจัยที่ส่งเข้าร่วมและผ่านการพิจารณาประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) จำนวน 156 บทความ จาก 5 สถาบันการศึกษา

  • Graduate Research Conference 2012
    Vol 7 (2555)

    วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2555 โดยมีเจ้าภาพร่วม 2 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ   มีการเสวนาในหัวข้อ “คุณค่างานวิจัย: การเผยแพร่และการประยุกต์ใช้งาน” โดย คุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ. พฤกษาเรียลเอสเตท (ตัวแทนภาคธุรกิจ))  ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์  สินลารัตน์ (กรรมการฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (ตัวแทนภาคการศึกษา)) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ธีรศักดิ์ หมากผิน (นักวิจัยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index: TCI))  ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  มีบทความวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน 255 บทความ จาก 24 สถาบันการศึกษา ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) จำนวน 92 ท่าน จาก 28 สถาบัน  จนได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 242 บทความ จาก 24 สถาบัน

  • Graduate Research Conference 2011
    Vol 6 (2554)

    วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2554 โดยมีเจ้าภาพร่วม 3 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  และ หอการค้าไทย   มีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ Hybrid Learning System” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  มีบทความวิจัยที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ได้นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings)  รวมทั้งสิ้น 150 บทความ จาก 15 สถาบัน

  • Graduate Research Conference 2010
    Vol 5 (2553)

    วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2553 โดยมีเจ้าภาพร่วมอีก 1 หน่วยงาน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   เสวนา หัวข้อ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับงานวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ และ คุณ ชนพ แจ้งใจ (อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี)  ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  มีบทความวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน 126 บทความ จาก 12 สถาบันการศึกษา ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ ทั้งสิ้น 100 บทความ จาก 12 สถาบัน

  • Graduate Research Conference 2009
    Vol 4 (2552)

    วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2552  มีบทความวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน และผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) 68 ท่าน  ได้บทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ ทั้งสิ้น 86 บทความ จาก 10 สถาบัน

  • Graduate School Conference 2008 and The 2nd National Conference on Graduate Research for Business Management 2008
    Vol 3 (2551)

    วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2551 โดยมีเจ้าภาพร่วม 2 สถาบันการศึกษา ได้แก่  มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย   มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “อนาคตบัณฑิตศึกษา: ทิศทางพัฒนาคุณภาพในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน” โดย รศ.ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  และ ดร.อนุสรณ์  ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  ได้บทความวิจัยที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ท่าน จาก  สถาบัน จนได้บทความที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 91 บทความ

  • Graduate Research Conference 2007
    Vol 2 (2550)

    วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2550  มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “งานวิจัยเชิงคุณภาพ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชาย โพธิสิตา  กรรมการในคณะผู้ประสานงานเครือข่ายโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก  ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  ได้บทความวิจัยที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) 56 ท่าน จาก 9 สถาบัน จนได้บทความที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 59 บทความ จาก 8 สถาบัน

  • Graduate Research Conference 2006
    Vol 1 (2549)

    วันที่ 23-24 มกราคม พ.ศ. 2550 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549  ซึ่งมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศ” โดย ศาสตราจารย์อานนท์  บุณยะรัตเวช  เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ - การเสวนา เรื่อง “การลงทุนเพื่องานวิจัย ...คุ้มค่าหรือไม่” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงศ์  ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาอาวุโส  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ - ดร.คุณหญิง กัลยา  โสภณพนิช  - ดร.ขัติยา  ไกรกาญจน์  ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - คุณแคธริน นันทิทรรภ ที่ปรึกษาในคณะกรรมการสถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย/ที่ปรึกษากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ในโครงการ”จัดตั้งศูนย์บริหารวิกฤติการณ์แห่งชาติ - และ การบรรยายพิเศษ เรื่อง “การใช้ภาษาไทยในงานวิจัย”  โดย ศาสตราจารย์ ดร.มงคล เดชนครินทร์ (ราชบัณฑิต) และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ  ในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัย  ได้บทความวิจัยที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) 34 ท่าน จาก 5 สถาบัน จนได้บทความที่นำเสนอในการประชุมฯ และตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) ที่เว็บไซต์ รวมทั้งสิ้น 51 บทความ จาก 6 สถาบันการศึกษา