การส่งเสริมการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ABC – Mobile Banking ของลูกค้าธนาคาร ABC จังหวัดนครราชสีมา
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการทำในรูปแบบของการแก้ปัญหา (Problem Based Solving) เพื่อ 1) ศึกษาและหาสาเหตุที่ลูกค้าไม่ใช้บริการ 2) ศึกษาความต้องการในการใช้บริการ 3) การวางแผนและวางกลยุทธ์ทางการตลาดในการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ABC Mobile Banking (นามสมมติ) โดยแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน โดยใช้ทฤษฎีการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่,1970 ที่ความคลาดเคลื่อน 10 % ของผู้สมัครและใช้บริการจากลูกค้าจำนวน 25,454 คน จำนวน 100 คน และ ผู้สมัครแต่ไม่ได้ใช้บริการจากลูกค้าจำนวน 3,910 คน อีกจำนวน 100 คน จากลูกค้า 10 สาขาในจังหวัดนครราชสีมา และทำการสัมภาษณ์ลูกค้าจากสาขาที่มีสถานะไม่ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชั่น อีกจำนวน 10 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) และวิเคราะห์ข้อมูลด้านส่วนประสมทางการตลาด โดยใช้การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ทำโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) แบบอุปนัย (Analytic Induction) การศึกษาพบว่า การที่ลูกค้าสมัครแต่ไม่ได้ใช้งานแอปพลิเคชั่น ABC – Mobile Banking อย่างต่อเนื่องนั้น มาจากปัญหาดังต่อไปนี้ ลูกค้าใช้บริการไม่เป็น การให้บริการที่ไม่หลากหลาย ไม่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้า ระบบการปฏิบัติการของแอปพลิเคชั่นไม่เสถียร ซึ่งช้าและขัดข้องบ่อยครั้ง และมีความยุ่งยากในขั้นตอนการสมัคร รูปแบบไม่ทันสมัยทำให้ลูกค้าไม่นิยมใช้งาน ผู้ศึกษาได้เลือกแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์แอปพลิเคชั่นให้ลูกค้าได้รับรู้ 2) การชักชวนลูกค้าและให้คำแนะนำของพนักงาน 3) พัฒนาด้านกระบวนการ ปรับปรุงระบบให้เกิดความเสถียร และความปลอดภัย
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม