การพัฒนาหมึกสีขาวฐานตัวทำละลายโดยการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองแบบผสม
Abstract
หมึกพิมพ์ฐานตัวทำละลายถือเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนนิ่ม เพื่อใช้ในการพิมพ์ให้เกิดสีสันและลวดลายเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค โดยหมึกที่มีปริมาณการใช้สูงที่สุดคือหมึกพิมพ์สีขาว ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือไทเทเนียมไดออกไซด์ ที่มีราคาสูง ส่งผลให้ผู้ผลิตหมึกพิมพ์ต้องดำเนินการหาวัตถุดิบทางเลือกเข้ามาทดแทนหรือลดการใช้ ไทเทเนียมไดออกไซด์ โดยที่หมึกพิมพ์สีขาวนั้นยังคงมีคุณสมบัติของหมึกพิมพ์ที่ดี ได้แก่ ค่าความทึบแสง ความประมาณของแข็งในหมึกพิมพ์ และการยึดติดของชั้นฟิล์ม เป็นต้น และยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตหมึกพิมพ์อีกด้วย ในการวิจัยครั้งนี้ใช้หลักการออกแบบการทดลองแบบผสมโดยการวางแผนการทดลองศึกษาถึงคุณสมบัติของหมึกพิมพ์ เริ่มต้นด้วยการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ตัว คือ สารยึดติด (X1), สารให้สี(X2) และสารเพิ่มเนื้อสี (X3) เพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อค่าปริมาณของแข็งในหมึกพิมพ์ (Y1) และค่าความทึบแสง (Y2) ของหมึกพิมพ์เมื่อทำการพิมพ์ลงบนพลาสติกชนิดพอลีเอทิลีนเทเรฟธาเรต และหาอัตราที่ส่วนเหมาะสมของหมึกพิมพ์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตโดยผลจากการวิเคราะห์ด้วยการออกแบบการทดลองชนิดสุ่มสมบูรณ์เบื้องต้น พบว่า ปัจจัยทั้งสามมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับค่าปริมาณของแข็งในหมึกพิมพ์ และค่าความทึบแสงบนพลาสติกชนิดพอลีเอทิลีนเทเรฟธาเรต ในการดำเนินการทดลองยืนยันค่าอัตราส่วนผสมที่ได้รับพบว่า ระดับที่เหมาะสมที่สุด คือ อัตราส่วนผสมสำหรับสารยึดติด : สารให้สี: สารเพิ่มเนื้อสี ควรมีค่าเท่ากับ 30:27.5:12.5
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม