การศึกษาสาเหตุและแนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 โดยมุ่งศึกษาสาเหตุความขัดแย้งของครูผู้สอน จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านองค์ประกอบส่วนบุคคล 2) ด้านปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน และ 3) ด้านสภาพองค์กร ผู้วิจัยมุ่ง ศึกษาสาเหตุความขัดแย้งของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตริดตถ์ เขต 1 จำนวน 108 โรงเรียน โดยมีตัวแทนครูเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม โรงเรียนละ 1 คน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุความขัดแย้งของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 มีความขัดแย้งตามองค์ประกอบ 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยดังต่อไปนี้ 1) ด้านองค์ประกอบส่วนบุคคล ข้อที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งสูงที่สุด ได้แก่ การที่บุคลากรมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน (x̄ = 4.25) 2) ด้านปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน ข้อที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งสูงที่สุด ได้แก่ การขาดความเข้าใจในความหมายของข้อมูลที่รับมาปฏิบัติไม่ตรงกัน (x̄ = 4.23) และ 3) ด้านสภาพองค์กร ข้อที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งสูงที่สุด ได้แก่ ความไม่เป็นธรรมและยุติธรรมในการให้รางวัล (x̄ = 4.27)
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม