“ผู้อพยพทางการศึกษา”: การเคลื่อนย้ายรูปแบบใหม่ของครอบครัวชาวจีน กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
Abstract
ช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีครอบครัวชาวจีนเข้ามาอยู่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มมากขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุตรได้รับการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติของไทย บทความนี้จึงต้องการนำเสนอว่าเพราะเหตุใดครอบครัวชาวจีนจำนวนมากจึงเลือกพาบุตรหลานมาศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครอบครัวชาวจีนจำนวน 3 ครอบครัว ร่วมกับการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมกับครอบครัวชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2561 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2562
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ผลักดันให้ครอบครัวชาวจีนตัดสินใจพาลูกมาเรียนที่เชียงใหม่มี 5 ประการ คือ หนึ่ง การดำเนินนโยบายของจีนเช่น นโยบายการเปิดประเทศ และ นโยบาย “ก้าวออกไป” ซึ่งสนับสนุนให้ชาวจีนเดินทางออกไปเรียนต่อต่างประเทศได้อย่างอิสระ สอง หลังจากจีนได้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ครอบครัวชาวจีนเริ่มมีความศักยภาพในการส่งลูกไปเรียนที่ต่างประเทศ สาม แรงกดดันจากระบบการศึกษาที่มีการแข่งขันสูง ทำให้ทั้งผู้ปกครองและลูกต่างตึงเครียดและเหนื่อยล้า สี่ ระบบการศึกษาของจีนเป็นระบบคัดเลือกเด็กเก่งซึ่งทำให้เด็กที่มีผลการเรียนปานกลางขาดความมั่นใจในตนเองและส่งผลเชิงลบต่อบุคลิกภาพของเด็ก และ ห้า ปัญหามลพิษในประเทศจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอันเนื่องมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก ทำให้กลุ่มคนเป็นโรคภูมิแพ้ต้องทนทุกข์ทรมาน จึงตัดสินใจออกจากจีนเพื่อพาตัวเองหลบหนีออกจากพื้นที่มลพิษ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเป็นแรงผลักดันให้ครอบครัวชาวจีนตัดสินใจพาลูกมาเรียนที่เชียงใหม่ ทำให้เชียงใหม่เป็นพื้นที่การศึกษาใหม่สำหรับครอบครัวชาวจีน
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม