การศึกษาการหารายได้และเปรียบเทียบรายได้รายไตรมาส เพื่อสะท้อนศักยภาพการดำเนินงาน ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2558-2562
Abstract
งานวิจัยการศึกษาการหารายได้และเปรียบเทียบรายได้รายไตรมาส เพื่อสะท้อนศักยภาพการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2558 - 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหารายได้ตามหลักส่วนประสมการตลาดบริการ (Service Marketing Mix: 8P’s) นำมาซึ่งการหารายได้ และเปรียบเทียบรายได้ของคณะฯ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานงบประมาณรายรับสำหรับเงินรายได้ของคณะฯ ปีงบประมาณ 2558 - 2562 โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงการดำเนินการหารายได้และการเปรียบเทียบรายได้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาตามรายได้แต่ละประเภท พบว่า 1) รายได้จากการจัดการศึกษาคือรายได้หลัก โดยเริ่มเข้ามาในไตรมาสที่ 2 และเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในไตรมาสที่ 4 เหมือนกันทุกปี 2) รายได้เงินดอกผลและผลประโยชน์จากการลงทุน และ 3) รายได้จากวิจัย พบว่าในแต่ละไตรมาสของแต่ละปีมีการเพิ่มขึ้นในจำนวนและทิศทางที่ใกล้เคียงกัน คือ มีการเพิ่มขึ้นในจำนวนไม่มาก 4) รายได้จากการให้บริการวิชาการ พบว่า ในแต่ละไตรมาสของแต่ละปีงบประมาณนั้น มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอและมีจำนวนค่อนข้างมาก 5) รายได้อื่น พบว่ามีการเพิ่มขึ้นในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับรายได้ประเภทอื่น สำหรับในด้านศักยภาพการหารายได้เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการรายรับนั้น พบว่า รายได้ที่มีศักยภาพดีที่สุดคือ รายได้จากเงินลงทุนและดอกผลจากการลงทุน เนื่องจากรายได้ที่ได้รับหลายปีเกินประมาณการที่ตั้งไว้ รองลงมาคือ รายได้อื่น มีรายได้แต่ละปีส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับเป้าหมายประมาณการ
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม