ปัจจัยซีอีโอและคณะกรรมการบริษัทที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไร ของธุรกิจครอบครัวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยซีอีโอและคณะกรรมการบริษัทที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ของกลุ่มธุรกิจครอบครัวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบผลกระทบจากปัจจัยซีอีโอ (ได้แก่ ประเภทของซีอีโอ เพศ รุ่นของซีอีโอ ระดับการศึกษา และอายุ) และปัจจัยคณะกรรมการบริษัท (ได้แก่ จำนวนคณะกรรมการบริษัท สมาชิกในครอบครัวในคณะกรรมการบริษัท สมาชิกผู้หญิงในครอบครัวในคณะกรรมการบริษัท และผู้หญิงในคณะกรรมการบริษัท) ต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจครอบครัว ซึ่งตัวแปรที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ด้วยข้อมูลทางการเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2560 พบว่าปัจจัยซีอีโอนั้นกลุ่มบริษัทที่มีซีอีโอผู้หญิงมีอัตรากำไรขั้นต้นแตกต่างจากกลุ่มบริษัทที่มีซีอีโอผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยคณะกรรมการบริษัทพบว่ากลุ่มบริษัทที่มีสมาชิกผู้หญิงในครอบครัวในคณะกรรมการบริษัทมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น แตกต่างจากกลุ่มบริษัทที่ไม่มีสมาชิกผู้หญิงในครอบครัวในคณะกรรมการบริษัท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม