ทฤษฎีความหมายกับการแปลบริบททางวัฒนธรรมในวรรณกรรมแปล เรื่อง เมนูคนบาป จานโปรดสําหรับคนใจร้าย ของ ฌอง เติลเล่

Main Article Content

ฐนวิชณ์ ไกรเพิ่ม ฐนวิชณ์ ไกรเพิ่ม

Abstract

บทคัดย่อ บริบททางวัฒนธรรมเป็นประเด็นสําคัญในการแปล ผู้แปลต้องมีความรู้ทั้ง 2 ภาษาอย่างดี เยี่ยมและมีความรู้ทั้ง 2 วัฒนธรรมด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีการ แปลบริบททางวัฒนธรรมจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทยเพื่อให้ทราบที่มาของปัญหาและศึกษากลวิธี การปรับบทแปลตามแนวทางทฤษฎีความหมาย (Théorie du sens) โดยศึกษาจากนิยายฝรั่งเศส เรื่อง เมนูคนบาป จานโปรดสําหรับคนใจร้าย ที่สํานักพิมพ์ฟรีฟอร์ม ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2554 จาก การศึกษาพบว่า ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้ร่วมแปลวรรณกรรมเรื่องนี้ใช้กลวิธีการแปลบริบททางวัฒนธรรม 4 ประเภทได้แก่ 1. การอธิบายความในบทแปล (note explicative) 2. การละข้อมูลในต้นฉบับ (omission) 3. การเพิ่มข้อมูล (ajout d’information) 4. การเปลี่ยนให้เป็นวัฒนธรรมปลายทาง (naturalisation) ทั้งนี้ กลวิธีการเพิ่มข้อมูลเป็นกลวิธีการแปลบริบททางวัฒนธรรมที่ผู้แปลใช้มาก ที่สุด โดยจะเพิ่มข้อมูลเรื่องชื่อเฉพาะเพื่อบอกเขตการปกครองและบอกชื่อทางภูมิศาสตร์

Article Details

Section
Research Articles