บันทึกการทูตจีน 10 เรื่อง: วิถีที่ควรทัศนา

Main Article Content

สันติ เมตตาประเสริฐ

Abstract

ฯ พณฯ เฉียนฉีเชิน (เกิด มกราคม พ.ศ. 2471)  เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงการต่างประเทศ ของจีนเป็นเวลานาน กล่าวคือ พ.ศ. 2525-2531 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 6 ปี, พ.ศ. 2531-2541 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 10 ปี, และในระหว่าง พ.ศ. 2536-2546 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบงานด้านการต่างประเทศควบอีกตำแหน่งหนึ่งด้วยอีก 10 ปี นับว่าท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านต่างประเทศของจีนเป็นเวลายาวนานถึง 21 ปี


ส่วนในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ท่านดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นกรรมการกรมการเมืองของ คณะกรรมการกลางระหว่างปี พ.ศ. 2535-2545 รวม 10 ปี


ในโอกาสที่ท่านพ้นจากตำแหน่งผู้นำคนสำคัญคนหนึ่งของประเทศจีน ภายหลังการประชุมของสภา ผู้แทนประชาชนแห่งชาติได้สิ้นสุดลงในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2546  ท่านอายุ 75 ปีจึงเป็นโอกาสดีที่ท่านจะ ได้ “อ่านหนังสือที่เมื่อก่อนอยากอ่านแต่ไม่มีเวลาได้อ่าน และได้ทำงานบางอย่างที่เมื่อก่อนอยากทำแต่ไม่มีเวลา ได้ทำ” (น. 12) ท่านได้ประพันธ์กลอนบรรทัดละ 5 พยางค์บทหนึ่งที่แสดงความรู้สึกที่กล่าวมาข้างต้น มีอยู่สอง วรรคความว่า “มีอารมณ์ก็เล่าเรื่องในอดีต ไม่บริหารประเทศก็อ่านหนังสือใหม่” (น. 12)


ความเป็นบัณฑิตของท่านนี้นั่นเองที่ทำให้ “บันทึกการทูตจีน 10 เรื่อง” นี้เกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้ เขียนเป็นภาษาจีนจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 หลังจากท่านพ้นจาก ตำแหน่งแล้วเพียง 7 เดือน นับว่าเป็นเวลาที่สั้นมาก เพราะเนื้อหาเป็นเรื่องการดำเนินการทางการทูตที่เต็มไป ด้วยข้อมูลรายละเอียดที่สลับซับซ้อนถึง 10 เรื่องด้วยกัน


ในประเทศไทย สถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร. สุภางค์ จันทวานิช ผู้อำนวยการสถาบันฯ เห็นความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ จึงได้ติดต่อ ฯพณฯ เฉียนฉีเชิน ผู้เขียนผ่าน สถานทูตจีนประจำประเทศไทยเพื่อขออนุญาตแปล โดยมอบหมายให้รองศาสตราจารย์อาทร ฟุ้งธรรมสาร อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีความรู้ภาษาจีนดีเป็นผู้แปล จากต้นฉบับภาษาจีน เริ่มแปลเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ใช้เวลาแปลปีเศษจึงสำเร็จ  ในระหว่างตรวจพิสูจน์ อักษรอยู่นั้น ผู้แปลได้ฉบับแปลภาษาอังกฤษชื่อ Ten Episodes in China’s Diplomacy ที่สำนักพิมพ์ China Foreign Languages Press ของรัฐบาลจีนเป็นผู้แปล และสำนักพิมพ์ HarperCollins Publishers เป็นผู้ จัดพิมพ์เผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 มาเสริมช่วยให้การแปลสมบูรณ์ขึ้น เช่น ชื่อสนธิสัญญา ชื่อแถลงการณ์ ชื่อองค์กร ซึ่งบางชื่อผู้แปลได้วงเล็บภาษาอังกฤษไว้ในฉบับแปลภาษาไทยนี้


ในขั้นตอนการแปลนั้น เมื่อลงนามสัญญาอนุญาตให้แปลตามเงื่อนไขที่ระบุกับสถานทูตจีนแล้ว ผู้แปล จึงได้ลงมือแปลโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้รู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนด้วยกัน รวมทั้งผู้ขัดเกลาคำแปลให้เป็นภา-ษาไทยที่สละสลวย เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จึงส่งต้นฉบับให้สถานทูตจีนตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เมื่อแก้ไขทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จึงนำมาเผยแพร่ได้ นับว่าเป็นกระบวนการแปลที่มีขั้นตอนมาก มีผู้ร่วมงาน หลายคน ผู้แปลใช้ความพยายามลงทุนลงแรงมาก โดยภาพรวมแล้วจึงจัดว่าเป็นงานแปลที่ได้มีมาตรฐาน และ เชื่อถือได้

Article Details

Section
Articles