A SURVEY OF ENGLISH MAJOR STUDENTS’ ATTITUDES TOWARD SPEAKING ENGLISH IN A THAI CONTEXT

  • Ruttiya Dorkphong
  • Nakonthep Tipyasupra
  • Sirimon Srinoparat
Keywords: Tinglish, Attitude, Varieties of English, Master degree students, English pronunciation

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติในองค์ประกอบด้านความรู้สึก ด้านความคิด และด้านการกระทำของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ ที่มีต่อการพูดภาษาอังกฤษแบบไทย โดยที่ประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโททั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วและยังเป็นนักศึกษาปัจจุบัน สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  จำนวน 236  คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 100 คนได้มาโดยการใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้พรรณนาสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในด้านความรู้สึกนักศึกษามีระดับทัศนคติในหัวข้อ “ข้าพเจ้าไม่กังวลว่าภาษาอังกฤษของข้าพเจ้า จะบ่งบอกว่าข้าพเจ้ามาจากประเทศไทย” สูงที่สุด (x̅ = 3.85)  ในด้านความคิดนักศึกษามีระดับทัศนคติในหัวข้อ “ข้าพเจ้าคิดว่าผู้ใช้ภาษาอังกฤษ สามารถใช้ภาษาอังกฤษในรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างกันได้ ขอเพียงแค่การสื่อสารบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้” สูงที่สุด (x̅ = 3.94) และในด้านการกระทำนักศึกษามีระดับทัศนคติในหัวข้อ “ข้าพเจ้าไม่หลีกเลี่ยงการพูดภาษาอังกฤษแบบไทย เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย” สูงที่สุด (x̅ = 2.92) เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า นักศึกษามีระดับทัศนคติต่อการพูดภาษาอังกฤษแบบไทยอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.93) โดยแสดงทัศนคติในด้านความรู้สึกสูงที่สุด (x̅ = 3.24) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่ (52%) แสดงความคิดเห็นว่าภาษาอังกฤษแบบไทยไม่เป็นปัญหาต่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ

คำสำคัญ: ภาษาอังกฤษแบบไทย, ทัศนคติ, ภาษาอังกฤษที่มีความหลากหลาย, นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ,                      การออกเสียงภาษาอังกฤษ

 

ABSTRACT

This study attempts to investigate English major students’ attitudes toward speaking English in a Thai context (Tinglish), in terms of affective, cognitive, and behavioral aspects. The population was 236 current and former students who studied the English for Professions Master Degree program at the Faculty of Liberal Arts, Rangsit University. The sample group was 100 students selected using a simple random method. The quantitative research instrument was a questionnaire. The collected data were analyzed by arithmetic mean, percentage, and standard deviation. Regarding the affective element, the results revealed that the item, “I am not worried about my English signaling clearly that I am from Thailand.” had the highest mean value (x̅= 3.94). Regarding the cognitive element, the item, “I think that speakers of English can use English in different forms and variants as long as the message is successfully communicated.” had the highest mean value (x̅ = 3.85). Regarding the behavioral element, the item, “I do not avoid speaking Tinglish because it is part of Thai culture.” had the highest mean value (x̅ = 2.93). Overall, it was found that the students had a moderate attitude toward Tinglish (x̅ = 2.93), the affective attitude element had the highest mean value (x̅ = 3.24). Moreover, the qualitative data showed that most students (52%) felt that using Tinglish in a multilingual environment did not cause any communication problems.

Published
2017-09-17
Section
Education Humanities and Social Science Articles