ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทมาสด้า ซิตี้
Abstract
เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันธุรกิจรถยนต์มีการแข่งขันและขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อเนื่องมากขึ้น อีกทั้งทรัพยากรทางบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ ในระบบสายงานโดยตรงก็มีอย่างจำกัด ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการ วางแผนนโยบาย คัดเลือกบุคลากร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ การขยายตัวต่อเนื่องของธุรกิจยานยนต์นี้เองมีส่วนทำให้องค์กรแต่ละองค์กรเกิดการปรับรายได้ต่างๆของพนักงานแต่ละแผนกให้สูงขั้น อาทิ รายได้ในส่วนของฐานเงินเดือน คอมมิชชั่น โบนัส โอที รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันบุคลากรเกิดการเปลี่ยนสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มรายได้ที่สูงขึ้นให้กับตัวเอง โดยเอาประสบการณ์จากองค์กรเก่าเป็นข้อแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น เรื่องรายได้จึงเป็นสาเหตุอันดับต้นๆที่บุคลากรลาออกกันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คำนึงถึงความจงรักภักดีหรือความผูกพันขององค์กร ดังนั้น การบำรุงรักษาบุคลากรบุคคลจึงเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่องค์กรควรหันมาให้ความสนใจ เพื่อรักษาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญการในสายงานให้อยู่คู่กับองค์กรด้วยความเต็มใจและมีความสุขไปนานๆ
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานย่อมส่งผลต่อผลงานที่ปฏิบัติของพนักงาน หากพนักงานมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานย่อมสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน ยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและส่งผลตามวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้เพื่อจะได้ทราบความต้องการของพนักงานในองค์กรและนำเอาผลการศึกษาที่ได้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กรโดยการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย โครงสร้าง รายได้ ค่าตอบแทนสวัสดิการต่างๆเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานอย่างแท้จริงรวมทั้งลดอัตราการลาออกของพนักงาน หากพนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานแล้ว ย่อมมีความสุข พึงพอใจต่องานที่ปฏิบัติและจูงใจให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรจนกลายเป็นความผูกพันในที่สุดที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความสาเร็จให้กับองค์กร
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๓ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม