investigate the storytelling methods employed in the series “Moonlight Chicken

  • สรรเพชญ วงศ์ประเสริฐผล College of Communication Arts
Keywords: Storytelling, Series, Film Language

Abstract

งานวิจัยเรื่อง “ วิเคราะห์การเล่าเรื่องและภาษาภาพยนตร์ในซีรีส์ พระจันทร์มันไก่ Moonlight Chicken” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis)  โดยสิ่งที่นำมาศึกษาได้แก่ ซีรีส์เรื่องพระจันทร์มันไก่ Moonlight Chicken จำนวน 8 ตอน ซึ่งออกอากาศทาง Disney+ hotstar ในปี 2023  สำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่  1 วิเคราะห์ลักษณะการเล่าเรื่องในซีรีส์พระจันทร์มันไก่ Moonlight Chicken  2) วิเคราะห์ภาษาภาพยนตร์ในซีรีส์ พระจันทร์มันไก่ Moonlight Chicken  โดยแนวคิดที่นำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษาวิจัยได้แก่ แนวคิดการเล่าเรื่อง และ แนวคิดภาษาภาพยนตร์

ผลของการศึกษาวิจัยพบว่าถึง ซีรีส์ที่นำมาศึกษามีรูปแบบการเล่าเรื่องดังนี้  1) โครงเรื่อง 1.1 การเปิดเรื่อง ซีรีส์ส่วนมากมักเปิดตัวบริบทของสังคมที่เกิดขึ้นและนำพามาสู่ความขัดแย้ง 1.2 การพัฒนาเรื่อง มักนำเสมอให้เห็นถึงการกระทำของตัวละครที่พยายามค้นหาในสิ่งที่ตนต้องการ 1.3 ภาวะวิกฤติ ตัวละครหลักมักพบเจอความผิดหวังจากการพยายามของตน 1.4 ภาวะคลี่คลาย  ตัวละครหลักมักได้รับบทเรียนจากพฤติกรรมของตนเอง 1.5 ตอนจบ มักแสดงออกถึงความเข้าใจในสิ่งที่ตัวละครพบเจอและจบแบบสุขนิยม 2) แก่นแนวคิด มักนำเสนอความคิดเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ และความคิดเชิงปรัชญา 3) ตัวละคร มักเป็นตัวละครที่มีปมปัญหาในใจที่ยังไม่ได้แก้ไข 4) ความขัดแย้ง มักเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในตัวละครเป็นหลัก 5) ฉาก มักให้ความสำคัญกับฉากความเป็นอยู่ของตัวละคร 6) มุมมองการเล่าเรื่อง มักนำเสนอผ่านสายตาบุคคลที่หนึ่ง 7) สัญลักษณ์ มักมีการนำเสนอสัญลักษณ์ที่บ่งบอกลักษณะบุคลิกของตัวละคร 

2) การใช้ภาษาภาพยนตร์ในซีรีส์เรื่อง พระจันทร์มันไก่ Moonlight Chicken มีลักษณะดังนี้ 1.1) ระยะของภาพ พบระยะของภาพหลัก ๆ อยู่สามขนาดคือภาพระยะไกล (Long Shot) ภาพระยะปานกลาง (Medium Shot) และภาพระยะใกล้ (Close-Up) 1.2) การเคลื่อนกล้อง ส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวราบ (Pan) หรือเคลื่อนกล้องในแนวดิ่ง (Tilt) เป็นหลัก หากมีฉากการปะทะอารมณ์ของตัวละครมักมีการใช้กล้องถือถ่ายด้วยมือ (Hand-Held )  1.3) มุมกล้อง ใช้ภาพระดับสายตา (Eve-Level Shot) และภาพมุมสูง (High Angle) เป็นหลัก 1.4) การจัดแสง มักจัดแสงในโทนสว่าง 1.5) การลำดับภาพ มักมีการใช้เทคนิคการลำดับภาพตามเวลาจริงในเรื่อง (Universal Time) 1.6) ฉากและสถานที่ ส่วนใหญ่เป็นฉากภายใน 1.7) สัญญะ พบว่ามักจะสอดคล้องกับประเด็นเรื่องเพศสภาพทางสังคม และ 1.8) เสียง เน้นการใช้เสียงดนตรีสมัยใหม่ประกอบบทสนทนาที่เป็นธรรมชาติ



The purposes of this study were to 1) investigate the storytelling methods employed in the series “Moonlight Chicken,” and 2) analyze the film language used in the same series. A qualitative research approach was adopted for this study. The analysis was based on data collected from eight episodes of "Moonlight Chicken," which were aired on Disney+ Hotstar in 2023. Textual analysis was employed as the methodology to analyze the data, with storytelling and film language serving as the research frameworks.

The results of the study revealed that the storytelling format employed in the series "Moonlight Chicken" encompassed several key elements. Firstly, in terms of plot, the opening of the series provided a detailed depiction of the social context that led to the conflicts within the story. As for the rising action, the narrative followed the characters' endeavors to achieve their desires. Moving on to the climax, despite their dedicated efforts, the main characters ultimately confronted failure and disappointment. The falling action depicted the characters' growth and learning from their experiences. The resolution of the story emphasized the characters' comprehension of the world and concluded in a hedonistic manner. Additionally, the story delved into the concept of human existence and explored philosophical ideas. The characters grappled with unresolved internal conflicts and personal struggles. The predominant conflicts within the narrative revolved around internal battles. The setting played a crucial role, primarily emphasizing the living conditions that shaped the characters' experiences. Moreover, the story adopted a first-person narrative perspective, offering an intimate glimpse into the characters' thoughts and emotions. Symbolism was effectively utilized to represent the unique personalities of the characters. In terms of film language, the series "Moonlight Chicken" made skillful use of various cinematic techniques. Firstly, the series employed three fundamental film shots: the long shot, medium shot, and close-up shot. Camera movements primarily consisted of panning or tilting, while emotional interactions between characters often featured the effective use of handheld camera shots. Additionally, the camera angles predominantly included eye-level shots and high angle shots. Lighting choices leaned towards a bright tone, contributing to the overall visual atmosphere. The shot sequencing followed the universal time technique, ensuring a coherent flow. The majority of settings depicted in the series were internal. Signs within the series were largely associated with gender and sexuality. Lastly, the incorporation of modern music seamlessly integrated with the film, enriching the viewing experience.

 

Keywords: Storytelling, Series, Film Language

Published
2023-08-31
Section
Education Humanities and Social Science Articles