The Effect of Video-Based Education on Knowledge Retention among Colorectal Cancer Patients Undergoing Chemotherapy
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาในกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pre-test and post-test study design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการให้ความรู้โดยใช้วีดิทัศน์ต่อความรู้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด และ 2) ศึกษาผลการให้ความรู้โดยใช้วีดิทัศน์ต่อพัฒนาการการเรียนรู้ และความรู้ที่คงเหลือของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด หลังการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักทุกระยะ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเคมีบำบัดสูตร FOLFOX ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย 14 จำนวน 30 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) วีดิทัศน์เรื่องการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร FOLFOX 2) แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย และ 3) แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร FOLFOX จำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด หลังได้รับความรู้โดยใช้วีดิทัศน์มีคะแนนความรู้เฉลี่ย (M 32.13, SD 5.66) สูงกว่าก่อนได้รับความรู้ (M 23.63, SD 5.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -7.6807, p <.001) พัฒนาการการเรียนรู้ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และความรู้ที่คงเหลืออยู่เท่ากับร้อยละ 51.92, 35.55 และ 83.63 ตามลำดับ การให้ความรู้โดยใช้วีดิทัศน์ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัดสูตร FOLFOX เป็นรูปแบบการให้ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้และจดจำได้เป็นอย่างดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. ก่อนเท่านั้น
References
จิราภรณ์ เฟื่องฟุ้ง. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ในเรื่อง พันธะเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สืบค้น 21 ธันวาคม 2566, จาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Jiraporn.Fau.pdf
นูรมา อาลี. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พัชชา ห่อตระกูล,วิไลพร สุพรรณ, สุจิตรา ฟังเร็ว, พินดา วราสุนันท์, และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2567). คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์: แนวทางที่ดีกว่าในการประเมินกระบวนการเรียนรู้ทางวิสัญญีวิทยา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 6(1), 39-45.
วิมลรัตน์ เดชะ, และรุ้งระวี นาวีเจริญ. (2559). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัด. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 133-147.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภางค์ ดำเกิงธรรม, ยุพาพร หงษ์สามสิบเจ็ด, และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. (2564). ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 29(1), 50-64.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. สืบค้น 21 ธันวาคม 2566, จาก https://www.nci.go.th/th/cancer_record/download/HOSPITAL-BASED_2021.pdf
สุธีรา บัวทอง, สุทธิพงศ์ สภาพอัตถ์, และศิริณา จิตต์จรัส. (2557). ผู้สูงอายุกับเหตุผลในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้และสิ่งที่ต้องการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1), 6-17.
สุนิษฐา เชี่ยวนาวิน. (2562). ผลของสื่อวีดิทัศน์โปรแกรมต่อระดับความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 6(1), 18-28.
สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. (2565). แนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ในรูปแบบห้องเรียนหลากหลายวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 6(2), 1-16.
Liu, M., Hu, G., Wang, Y., Guo, J., Liu, L., Han, X., & Wang, Z. (2018). Comparison of FOLFOX and DOF regimens as first-line treatment in East Asian patients with advanced gastric cancer. Onco Targets and Therapy, 11, 375-381. doi: 10.2147/OTT.S149624
Molek, R., Boonprachack, K., Chuwongin, D., Yungyuen, S., Preechakoon, B., & Sombutboon, M. (2018). The effectiveness of video and handbook learning media on acquisition of knowledge on healthcare process in liver cancer patients received first trans-arterial chemoembolization: A randomized control-trial. Journal of Current Science and Technology, 8(2), 107-112.
Nwozichi, C. U. (2015). Effect of video-based teaching module on knowledge about testicular cancer and testicular self-examination among male undergraduate students. Archives of Medicine and Health Sciences, 3(2), 215-226. doi: 10.4103/2321-4848.171909
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (1991). Nursing: Concepts of practice (4thed.). St. Louis, MO: Mosby.
Patel, P. H., Bibee, K., Lim, G., Malik, S. M., Wu, C., & Pugliano-Mauro, M. (2017). Evaluating retention of skin cancer education in kidney transplant recipients reveals a window of opportunity for re-education. Transplantation Proceedings, 49(6), 1318-1324. doi: 10.1016/j.transproceed.2017.03.079
Salehifa, E., Avan, R., Janbabaei, G., Mousavi, S. K., & Faramazi, F. (2019). Comparison the incidence and severity of side effects profile of FOLFOX and DCF regimens in gastric cancer patients. Iran J Pharm Res, 18(2), 1032-1039. doi: 10.22037/ijpr.2019.1100663.
Tiwari, S. (2019). Do videos used during lectures help first year MBBS students gain & retain knowledge in anatomy better?. International Journal of Anatomy and Research, 7(4.1), 6992-6995. doi: 10.16965/ijar.2019.261
Vichitvejpaisal, P., Panjamawat, T., & Varasunun, P. (2014). Which model is the best predictor of learning achievement: raw score, relative growth or knowledge retention score? South-East Asian Journal of Medical Education, 8(1), 66-71.
World Cancer Research Fund International [WCRF]. (2022). Colorectal cancer statistics. Retrieved 3 August 2024, from https://www.wcrf.org/cancer-trends/colorectal-cancer-statistics/
World Health Organization [WHO]. (2023). Colorectal cancer. Retrieved 21 December 2023, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/colorectal-cancer?gad_source=1&gclid=CjwKCAjwqre1BhAqEiwA7g9QhiQXXOdpSaEkaCp9cXgYNXi37o_kSXr-XnzUUzGP9nENfQy45txE_RoCAGAQAvD_BwE