การเตรียมต้นฉบับ
1. ต้นฉบับพิมพ์ด้วย Microsoft Word ขนาดตัวอักษร 16 pt แบบอักษรใช้ Angsana New พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษ A4 เว้นขอบด้านละ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) กำหนดระยะห่างบรรทัด (Line spacing) 1.15 แต่ละบรรทัดกำหนดช่องว่าง ( Space) ดังนี้ Before 0 pt. After 5 pt.
1.1 ตาราง (ถ้ามี) ใส่ตารางในต้นฉบับตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง ชื่อตารางอยู่ด้านบน พิมพ์ชื่อตารางให้สั้นกระชับ เข้าใจง่าย ได้ใจความสำคัญและสื่อถึงข้อมูลในตารางที่จะนำเสนอ ชื่อตารางและข้อมูลในตารางพิมพ์ด้วยแบบอักษร Angsana New ขนาดอักษร 14 pt. กรณีข้อมูลในตารางมีจำนวนมากสามารถใช้ขนาดอักษร 12 ได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องเห็นข้อมูลได้ชัดเจน อ่านออกง่าย
1.2 รูปภาพ หรือแผนภูมิ (ถ้ามี) ใส่รูปภาพหรือแผนภูมิในต้นฉบับตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง ชื่อรูปภาพหรือแผนภูมิอยู่ตรงกลางด้านล่าง โดยใช้ขนาดและแบบอักษรเช่นเดียวกับการพิมพ์ตาราง และให้ส่งไฟล์รูปภาพหรือแผนภูมิที่ใช้ เป็นไฟล์แยก แนบมากับไฟล์ต้นฉบับด้วย กรณีต้นฉบับมีรูปหรือแผนภูมิหลายรูป ให้แยกเซฟแต่ละรูปเป็น 1 ไฟล์
2. ความยาวของบทความวิชาการ/บทความวิจัย ไม่เกิน 15 หน้า (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง)
3. ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษหน้าแรก ขนาดตัวอักษร 20 pt ตัวหนา
4. ชื่อผู้เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ใต้ชื่อเรื่อง ชิดขอบกระดาษด้านขวามือ ขนาดตัวอักษร 14 pt ใช้สัญญลักษณ์ตัวเลขพิมพ์ตัวยยก (Superscript) ท้ายชื่อ-นามสกุล และเขียนรายละเอียดในเชิงอรรถ
5. เชิงอรรถ พิมพ์ตำแหน่ง/ ตำแหน่งทางวิชาการของผู้เขียน และสถานที่ทำงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในหน้าแรก
6. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำต่อบทคัดย่อ พิมพ์คำสำคัญ (Key words) 2-5 คำ ไว้ใต้บทคัดย่อ
7. รายงานการวิจัยเรียงลำดับสาระ ดังนี้
7.1 บทคัดย่อ และคำสำคัญภาษาไทย
7.2 บทคัดย่อ และคำสำคัญภาษาอังกฤษ
7.3 ความเป็นมาและความสำคัญ
7.4 กรอบแนวคิดการวิจัย
7.5 วัตถุประสงค์การวิจัย
7.6 สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
7.7 วิธีดำเนินการวิจัย (ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การพิทักษ์สิทธิ์ผู้เข้าร่วมวิจัย และหัวข้ออื่นตามความเหมาะสม)
7.8 ผลการวิจัย
7.9 การอภิปรายผล
7.10 ข้อเสนอแนะ
7.11 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
7.12 แหล่งทุนสนับสนุน (ถ้ามี)
7.13 เอกสารอ้างอิง โดยใช้การเขียนรูปแบบ APA 6th Edition
กรณีเป็นบทความวิชาการ (Academic article) หรือบทความปริทัศน์ (Review article) มีลำดับสาระดังนี้
- หัวข้อ 1 และ 7.2
- เนื้อหาของบทความซึ่งควรประกอบด้วย ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุป
- หัวข้อ 10-7.13
8. ลำดับหัวเรื่องในต้นฉบับ ควรมีลำดับหัวเรื่องไม่เกิน 3 ลำดับ การจัดลำดับใช้รูปแบบ ดังนี้
หัวข้อ (Heading) 7.1-7.13 พิมพ์ตัวหนา ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
หัวข้อย่อย 1 (Heading 1) พิมพ์ตัวหนา ย่อหน้าจากขอบกระดาษด้านซ้าย
หัวข้อย่อย 2 (Heading 2) พิมพ์ตัวเอน ย่อหน้าจากขอบกระดาษด้านซ้าย
เนื้อหาทุกย่อหน้า (Paragraph) บรรทัดแรกให้ย่อหน้าจากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์เนื้อหาต่อเนื่อง โดยจัดการ
กระจายของเนื้อหาให้ขอบซ้ายและขวาเท่ากันทุกบรรทัด