การเขียนเอกสารอ้างอิง

 

การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citations)

1. ใช้การอ้างอิงแบบ นาม-ปี ไว้ในวงเล็บท้ายประโยคที่ต้องการอ้างอิง โดยภาษาไทยระบุ ชื่อ-นามสกุลผู้แต่งตามด้วยปีที่พิมพ์ ภาษาอังกฤษระบุเฉพาะชื่อสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยปีที่พิมพ์ แต่ถ้าชื่อผู้แต่งที่อ้างถึงเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่จะเขียนต่อไป ให้วงเล็บเฉพาะปีที่พิมพ์ ตัวอย่างเช่น

                    (วิมล สุขเกษม, 2561)      หรือ  วิมล สุขเกษม (2561) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการตนเองว่า...

                    (Boonsatean, 2018)      หรือ Boonsatean (2018) give suggestions regarding…

2. การอ้างอิงบทความที่มีผู้แต่งมากกว่า 1 คน ภาษาไทยให้อ้างชื่อ-นามสกุล ภาษาอังกฤษให้อ้างเฉพาะชื่อสกุล

          2.1 ผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้ชื่อ-นามสกุล/ชื่อสกุลของผู้แต่งทั้ง 2 คน ภาษาไทยใช้ชื่อ-นามสกุลจริงเชื่อมด้วย “และ” ภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุลเชื่อมด้วยเครื่องหมาย “&” เช่น

                    (วิมลรัตน์ สนใจ และอรทัย ตั้งใจ, 2560)         หรือ วิมลรัตน์ สนใจ และอรทัย ตั้งใจ (2560) กล่าวว่า...

                    (Boonsatean & Ostman, 2018)     หรือ Boonsatean and Ostman (2018) state that…

          2.2 ผู้แต่ง 3-5 คน การอ้างครั้งแรกให้ใช้ชื่อสกุลของผู้แต่งทั้งหมด (ภาษาไทยใช้ชื่อ-นามสกุลจริง) คั่นระหว่างผู้แต่งแต่ละคนด้วยเครื่องหมาย “,” และใช้เครื่องหมาย “&” ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย (ภาษาไทยใช้ “,” คั่นระหว่างชื่อ-นามสกุลผู้แต่งแต่ละคน และใช้คำว่า “และ” ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย) เช่น

                    (Peterson, Smith, & Clare, 2015)

                    (วิมล ใส่ใจ, วิมลรัตน์ สนใจ, และอรทัย ตั้งใจ, 2560)

หากเป็นการอ้างอิงผลงานเดิมในครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้ใช้ชื่อสกุลผู้แต่งคนแรก ตามด้วย et al. โดยคำว่า et al. มีจุดหลังคำว่า al. เท่านั้น (ภาษาไทยใช้ชื่อ-นามสกุลผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคณะ”) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น

                    (Peterson et al., 2015)

                    (วิมล ใส่ใจ และคณะ, 2560)

          2.3 ผู้แต่ง 6 คนขึ้นไป ให้ใช้ชื่อสกุลของผู้แต่งคนแรก ตามด้วย et al. (ภาษาไทยตามด้วยคำว่า “และคณะ”) แล้วตามด้วยปีที่พิมพ์ ในทุกครั้งของการอ้างอิง

          2.4 กรณีอ้างอิงผลงานมากกว่า 1 ชิ้น ให้ใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างบทความแต่ละเรื่อง และเรียงลำดับอ้างอิงตามตัวอักษรของชื่อสกุลผู้แต่งคนแรก เช่น

                    (วิมล ใส่ใจ, 2561; วิมลรัตน์ สนใจ และอรทัย ตั้งใจ, 2560)

                    (Boonsatean, 2012; Lundberg & Thrakul, 2013; Utz et al., 2006)

          2.5 การอ้างอิงโดยใช้คำพูดโดยตรงของผู้เขียนผลงาน (Direct quote) ให้ใส่เลขหน้าในการอ้างอิงด้วย เช่น

                    (Peterson et al., 2015, p. 30)

 

การอ้างอิงท้ายบทความต้นฉบับ

เป็นการรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหา นำมาจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อ “เอกสารอ้างอิง”

    1. การเรียงลำดับเอกสารอ้างอิง ให้เรียงเอกสารภาษาไทยขึ้นก่อน ตามด้วยเอกสารภาษาอังกฤษ

    2. ภาษาไทยผู้แต่งใช้ชื่อและนามสกุล ภาษาอังกฤษใช้ชื่อสกุล และอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง

    3. กรณีเอกสารอ้างอิงไม่จบภายในบรรทัดเดียว บรรทัดแรกให้พิมพ์ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย บรรทัดถัดมาให้ย่อหน้า

 

     หนังสือ (ชื่อหนังสือพิมพ์ตัวเอน หรือตัวหนา)

     ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     มนตรี แย้มกสิกร. (2549). การวิจัยและทฤษฏีเทคโนโลยีการศึกษา ชลบุรี: มหาวิทยาลัย

          บูรพา

     Norman, D, A. (2002). The design of everyday things. New York, NY: Basic books.

     ผู้แต่ง 1, & ผู้แต่ง 2. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     ปิยะ นากสงค์, และพันธุ์รวี วรสิทธิกุล. (2545). ดูหนังฟังเพลงเล่นเกมร้องคาราโอเกะ.

          กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

     Magee, J., & Kramer, J. (2006). Concurrency state models & Java programs.

          West Sussex, UK: John Wiley.

     กรณีมีผู้แต่ง 1-7 คน ให้เขียนชื่อสกุลผู้แต่งทุกคนตามแบบฟอร์มข้างต้น แต่ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 7 คนให้ใช้แบบฟอร์ม ดังนี้

     ผู้แต่ง 1, ผู้แต่ง 2, ผู้แต่ง 3, ผู้แต่ง 4, ผู้แต่ง 5, ผู้แต่ง 6, … ผู้แต่งคนสุดท้าย. (ปีพิมพ์).

          ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     ปรีดา อุ่นเรือน, สมชาย ตระกูลกิจ, ไพบูลย์ ใจดี, วัฒนา เกียรติรัตน์, สุวรรณ เปี่ยมไสว,

          วิไลพร คล่องการเรียน, … บังอร กนกงาม. (2553). การจัดการระบบสารสนเทศสำหรับ CEO

          (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ซีอีโอเพรส.

     Mercer, D. W., Kent, A., Nowicki, S. D., Mercer, D., Squier, D., Choi, W., … Morgan, C.

          (2004). Beginning PHP5. Indianapolis, IN: Wiley.

 

     บทในหนังสือ (ชื่อบท พิมพ์ตัวเอน หรือตัวหนา)

     ชื่อผู้แต่งบทความหรือบท. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความหรือบท. ใน หรือ In ชื่อบรรณาธิการ

          (บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.), ชื่อหนังสือ (น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า). สถานที่

          พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     บรรณาธิการชาวต่างประเทศใส่อักษรย่อชื่อต้นและชื่อรอง ตามด้วยนามสกุล

     ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2554). มุมมองของนักศึกษานิเทศศาสตร์ต่อกระบวนการผลิตละครเพื่อการ

          สื่อสาร. ใน ชนัญชี ภังคานนท์ (บ.ก.), กระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทายของ

          เอเชียแปซิฟิก (น. 23-24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

     Sinnaeve, G., Pissard, A., Fernandez-Pierna, J. A., Lognay, G., Rondia, A., Dupont,

          P., … Lateur, M. (2010). Use of near infrared spectroscopy for the determination of internal

          quality of entire apples. In S. Saranwong, S. Kasemsumran, W. Thanapase, & P. Williams

          (Eds.), Near infrared spectroscopy: Proceedings of the 14th international Conference (pp.

          255-259). West Sussex, UK: IMP.

 

     วารสาร (ชื่อวารสาร และปีที่พิมพ์ เป็นตัวเอน หรือตัวหนา)

     ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.

     ปิยะวิทย์ ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ในผลิตภัณฑ์แปร

          รูปสัตว์น้ำ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72), 103-119.

     Gu, Q., & Li, Q. (2013). Sustaining resilience in times of change: Stories from Chinese

          teachers. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 41(3), 288-303.

 

     สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ พิมพ์ตัวเอน หรือตัวหนา)

     ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่สารนิเทศบนอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความ. สืบค้น วัน เดือน ปี,

          จาก http://www …………

     สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2554). จัดระเบียบสำนักงานทนายความ. สืบค้น 21 มิถุนายน 2554, จาก

          http://www.lawyerscouncil.or.th/2011/index.php?name=knowledge

     CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011,

          from http://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/05/02/bin.laden.raid/index.html

 

     วิทยานิพนธ์ (ชื่อวิทยานิพนธ์ พิมพ์ตัวเอน หรือตัวหนา)

     ชื่อผู้นิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์, สถาบันการศึกษา.

     ชัยยศ ชาวระนอง (2544). สภาพการใช้ ปัญหา และความต้องการการใช้อินเทอร์เน็ตของอาจารย์

          และนักศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

          สาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

     Darling, C. W. (1976). Giver of due regard: The poetry of Richard Wilbur. Unpublished

          doctoral dissertation, University of Conecticut, USA.

 

ศึกษาเพิ่มเติมจาก คู่มือการอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2561

http://www.nhrc.or.th/getattachment/e0998672-529a-4690-8b9d-9a94fc071dcc/.aspx