การใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการรู้ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรู้ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนเรื่องความน่าจะเป็นที่ใช้สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใบกิจกรรม และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อวัดการรู้ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีระดับการรู้ความน่าจะเป็นอยู่ในระดับ 4 มากขึ้นทั้ง 6 ด้านของการรู้ความน่าจะเป็น โดยร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีระดับการรู้ความน่าจะเป็นอยู่ในระดับ 4 ที่เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนในแต่ละด้านเป็นดังนี้ ด้านปริภูมิตัวอย่าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67 ด้านความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดจากการลงมือทดลอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.67 ด้านความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ในเชิงทฤษฎี เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.67 ด้านความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ยูเนียนกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.67 ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ไม่เกิดร่วมกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.00 ความน่าจะเป็นของผลต่างของเหตุการณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.00 ความน่าจะเป็นของคอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.33 การเปรียบเทียบความน่าจะเป็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.67 ด้านความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.00 และด้านความน่าจะเป็นแบบมีอิสระ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.00
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม