ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการให้บริการที่พักชั่วคราว
Abstract
วิจัยฉบับนี้ มีจุดประสงค์หลักคือ การศึกษาถึงธุรกิจบริการการให้เช่าที่พักชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ซึ่งในวิจัยนี้จะเรียกว่าพระราชบัญญัติโรงแรม อาทิ อะพาร์ตเมนท์ (Apartment) เกสท์เฮาส์ (Guest House) คอนโดมิเนียม (Condominium) รีสอร์ท (Resort) และแอร์บีเอ็นบี (Airbnb) โดยจะรวมเรียกว่าธุรกิจที่พักชั่วคราว นอกเหนือไปจากการอธิบายถึงลักษณะเฉพาะของธุรกิจที่พักชั่วคราวแล้ว วิจัยฉบับนี้ จะสืบค้นถึงปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจนี้รวมทั้งวิถีและวิธีการในการแก้ปัญหากฎหมายนี้
วิจัยฉบับนี้พบ เป็นอาทิ ว่า พระราชบัญญัติโรงแรม มาตรา 4 ใช้บังคับกับสถานที่ใดก็ตามที่ให้บริการที่พักแก่บุคคล อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติโรงแรมไม่ใช่บังคับกับ 1) ที่พักชั่วคราวซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการของรัฐบาล หรือเพื่อการกุศล หรือเพื่อการศึกษา 2) ที่พักซึ่งให้บริการโดยคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือน และ 3) ที่พักอื่นใดที่กำหนดโดยกฎกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจของพระราชบัญญัติโรงแรม มาตรา 4 (3) ดังกล่าวข้างต้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า กฎกระทรวง โดยได้กำหนดในข้อ 1 ว่า ให้สถานที่พักที่มีจำนวนห้องพักในอาคารเดียวกันหรือหลายอาคารรวมกันไม่เกินสี่ห้องและมีจำนวนผู้พักรวมกันทั้งหมดไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน อันมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการเพื่อหารายได้เสริมและได้แจ้งนายทะเบียนทราบตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรมมาตรา 4 ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าที่พักชั่วคราว
ด้วยเหตุดังกล่าว พระราชบัญญัติโรงแรมจึงไม่ใช้บังคับกับธุรกิจที่พักชั่วคราว เพราะที่พักชั่วคราวไม่ใช่โรงแรม นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ยังดูเหมือนว่าไม่มีกฎหมายฉบับอื่นใดใช้บังคับกับธุรกิจที่พักชั่วคราวเป็นการทั่วไป และไม่มีกฎหมายอื่นใดที่ใช้บังคับกับธุรกิจที่พักชั่วคราวเป็นการเฉพาะ ด้วยเหตุนั้น จึงดูเหมือนว่ามีช่องว่าทางกฎหมายเกี่ยวกับควบคุมธุรกิจที่พักชั่วคราว ช่องว่างนี้ก่อให้เกิดความไม่แน่นอน และความไม่แน่นอนก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจประเภทนี้ ซึ่งนำรายได้มหาศาลมาสู่ประเทศไทย ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าประเทศไทยควรแก้ไขพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ให้ควบคุมถึงการบริหารจัดการที่พักชั่วคราว
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม