การปรับปรุงกระบวนการผลิตเอกสาร กรณีศึกษา กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตเอกสารของแผนกควบคุมการขนส่ง กองส่งกำลัง สำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเอกสารที่เกี่ยวกับ งานแบบที่ 1 (เอกสารการขออนุมัติใช้เครื่องบิน) งานแบบที่ 2 (การเคลื่อนย้ายกระสุนวัตถุระเบิดบรรทุกไปกับรถยนต์) และงานแบบที่ 3 (การเรียกเก็บเงินหลังจากปฏิบัติภารกิจการขอใช้เครื่องบิน) ซึ่งพบว่าไม่สามารถผลิตเอกสารได้ทันต่อการส่งมอบ ดังนั้น จึงได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการศึกษาการทำงาน (Work Study) โดยปรับปรุงระบบลักษณะงานเดิม และได้วิเคราะห์หาปัจจัยสาเหตุของปัญหาเพิ่มเติมด้วยการประชุมและระดมความคิด โดยคำนึงถึงวิธีการทำงาน (Method), คน (Man), เครื่องจักร (Machine), วัตถุดิบ (Material) และสภาพแวดล้อม (Mather nature) พร้อมทั้งแสดงสาเหตุของปัญหาในผังเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) และดำเนินการปรับผังสถานที่ปฏิบัติงานรวมถึงโต๊ะทำงานของพนักงาน ปรับวิธีการทำงานในการผลิตเอกสารด้วยระบบการผลิตแบบลีน โดยการตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออก จัดงานใหม่ และทำให้ง่ายขึ้น ผลปรากฏว่าสามารถลดขั้นตอนการทำงานงานแบบที่ 1 จาก 16 ขั้นตอน ลดลงเป็น 14 ขั้นตอน งานแบบที่ 2 และงานแบบที่ 3 จาก 14 ขั้นตอน ลดลงเป็น 12 โดยลดวิธีการทำงานที่ไม่จำเป็นลง และจากการศึกษาเวลา (Time Study) ทำให้เวลารวมในการทำเอกสารงานแต่ละแบบลดลง โดยงานแบบที่ 1 ใช้เวลา 183 นาที ลดลงเป็น 87 นาที ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 52.45 เปอร์เซ็นต์ งานแบบที่ 2 ใช้เวลา 165 นาที ลดลงเป็น 74 นาที ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 55.15 เปอร์เซ็นต์ และงานแบบที่ 3 ใช้เวลา 154 นาที ลดลงเป็น 62 นาที ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 59.74 เปอร์เซ็นต์
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม