การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการหยิบสินค้า ด้วยการใช้หลักการของพื้นที่การหยิบสินค้าอย่างเร็ว กรณีศึกษา: คลังสินค้าบริษัท A
Abstract
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการหยิบสินค้าในคลังสินค้า โดยใช้หลักการของการจัดการให้มีพื้นที่หยิบสินค้าอย่างเร็ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาในกระบวนการหยิบสินค้าตามใบคำสั่ง ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่หยิบสินค้าอย่างเร็วเป็นพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก การบริหารจัดการในการเลือกรายการสินค้าที่จะนำมาเก็บในพื้นที่นี้ รวมถึงการวางแผนในการเติมเต็มสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ได้มีการใช้ข้อมูลการหยิบสินค้าในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 จนถึงถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 มาวิเคราะห์หาผลประโยชน์สุทธิ (Net Benefits) และประสิทธิภาพแรงงาน (Labor Efficiencies) ในการเลือกรายสินค้าดังกล่าว ปรากฏว่ามีสินค้าที่ได้เลือกมาจัดเก็บทั้งสิ้นจำนวน 51 รายการ โดยมีการกำหนดรอบการเติมเต็มสินค้า (Restocking Period) เท่ากับ 5 วัน และได้นำผลที่มาทดสอบกับข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน และตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งผลปรากฏว่าผลประโยชน์สุทธิ ที่ได้คือจำนวนเวลาที่ใช้ในการหยิบสินค้าลดลงเป็นจำนวน 161.54 นาที และ 147.83 นาทีในเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม ตามลำดับ หรือหากคำนวณเป็นต้นทุนค่าแรงงาน บริษัทกรณีศึกษาสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนเงิน 16,961.70 บาท และ 15,522.15 บาทสำหรับช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าการจัดการพื้นที่หยิบสินค้าอย่างเร็วนี้เป็นแบบต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้บริษัทมีต้นทุนในการบริหารจัดการในคลังสินค้า ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบทางด้านการแข่งขันในทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม