การทดสอบประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนการซื้อขายหลักทรัพย์แบบเป็นคู่ โดยใช้ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว

กรณีศึกษากลุ่มหลักทรัพย์ SET50

  • พิมล จันทรัตน์เจริญ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ธฤตพน อู่สวัสดิ์
Keywords: กลยุทธ์การลงทุน, การซื้อขายหลักทรัพย์แบบเป็นคู่, ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว

Abstract

การศึกษาในครั้งเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนแบบ Pairs Trading โดยใช้วิธี Cointegration Approach มาสร้างกลยุทธ์การลงทุนการซื้อขายหลักทรัพย์แบบเป็นคู่ โดยใช้กรณีศึกษากลุ่มหลักทรัพย์ SET50 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ค่าอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (Sharpe Ratio)  เป็นเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพ ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 โดยใช้ข้อมูลราคาปิดรายวันหลังปรับผลกระทบจากการแตกหุ้นและเงินปันผลแล้วจากเว็บไซต์ Yahoo Finance ข้อมูลทั้งหมดแบ่งออกเป็น 8 ชุดข้อมูล แต่ละชุดข้อมูลเริ่มต้นห่างกัน 6 เดือน และแต่ละชุดข้อมูลจะแบ่งออกเป็นสองช่วง ช่วงที่หนึ่ง เรียกว่า Training Period 12 เดือน เป็นช่วงทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวของคู่หลักทรัพย์ ช่วงที่สองเรียกว่า Testing Period เป็นช่วงระยะ 6 เดือนต่อจาก Training Period  โดยนำคู่หลักทรัพย์ที่คัดเลือกมาทดสอบกลยุทธ์การซื้อขายหลักทรัพย์แบบเป็นคู่ จากผลการศึกษาในช่วงปี 2559 ถึงปี 2563 พบว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ Pairs Trading สามารถสร้างผลกำไร และมีประสิทธิภาพมากกว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ Buy and Hold บนดัชนี SET50 เมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (Sharpe Ratio)

Published
2021-08-29

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##

1 2 3 > >>