การวัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์ Break High Strategy ด้วยขั้นตอนวิธี Quantitative Trading Methods โดยอาศัยโปรแกรม Amibroker

  • ศิลปการ สนิทโกศัย
  • สมพร ปั่นโภชา
  • ธฤตพน อู่สวัสดิ์
Keywords: Break High Strategy, Quantitative Trading, Amibroker

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการลงทุนแบบ Break High Strategy โดยใช้ขั้นตอนวิธี Quantitative Trading มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการทดสอบขั้นตอนต่างๆ เช่น  Market Classification  ( MKC ) , Monkey Test และ Walk-Forward Analysis  กรณีศึกษาข้อมูลราคาหุ้นทุกตัวใน SET100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระยะเวลาการทดลองตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 2005 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2015 เป็นเวลา 10 ปี โดยใช้ข้อมูลรายวันในการทดสอบ เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การลงทุนแบบ Buy and Hold  โดยแบ่งข้อมูลเป็น 2 ชุดคือ ชุดข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง ( In Sample ) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2005 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2010 และชุดข้อมูลนอกกลุ่มตัวอย่าง ( Out of Sample ) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2011 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2015 โดยใช้ค่า  Net Profit %, Maximum Drawdown% ,CAR/MaxDD,  Profit Factor, Sharpe Ratio เป็นเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพของ Trading System

ผลการศึกษาชุดข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ Break High Strategy ให้ค่า Net Profit % เท่ากับ 122.96% แต่หากนำกลยุทธ์ไปใช้ในชุดข้อมูลนอกกลุ่มตัวอย่างกลับทำให้ค่า Net Profit % เท่ากับ 23.85% และมีค่า CAR/MDD อยู่ที่ 0.62 เมื่อเทียบกับผลทดสอบชุดข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง ค่า CAR/MDD อยู่ที่ 0.22 ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันค่อนข้างมากในส่วนของค่า Maximum Drawdown% พบว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ Break High Strategy จากชุดข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างให้ค่า Maximum Drawdown% อยู่ที่ -12.64% และสำหรับผลลัพธ์ของชุดข้อมูลนอกกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่  -10.33% ซึ่งต่างกันไม่มากนัก จากการทดสอบสามารถสรุปได้ว่ากลยุทธ์การลงทุน Break High Strategy หลังชุดข้อมูลนอกกลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนต่างๆ นั้นให้ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าชุดชุดข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างและหากนำมาเปรียบเทียบกับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Buy and Hold จะพบว่าค่า Net Profit % อยู่ที่ 98.87% ซึ่งทำได้ดีกว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ Break High Strategy ที่มีค่า Net Profit % อยู่ที่ 23.85% สำหรับชุดข้อมูลนอกกลุ่มตัวอย่าง แต่หากเปรียบเทียบกับค่า Maximum Drawdown% ,CAR/MaxDD,  Profit Factor, Sharpe Ratio  กลยุทธ์การลงทุน Break High Strategy นั้นให้ค่าที่ดีกว่า เราจึงสามารถบอกได้ว่ากลยุทธ์การลงทุน Break High Strategy ของผู้วิจัยนั้น ไม่มีความเสถียรยั่งยืนเพียงพอและอาจเกิดปัญหาหากนำกลยุทธ์ไปใช้ลงทุนในตลาดจริง เนื่องจากไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าระบบเทรดจะยังคงสามารถทำกำไรในอนาคตได้ดังเดิมมากน้อยสักแค่ไหน เพราะผลจากการทำ Walk Forward Analysis นั้น ได้ค่าที่ค่อนข้างต่างกันอย่างชัดเจน

Published
2022-10-09

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##

1 2 3 4 5 6 7 > >>