พฤติกรรมการใช้บริการและความต้องการส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการของภาครัฐกับธนาคารออมสิน ในสังกัดเขตสุราษฎร์ธานี 2
Abstract
การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการและความต้องการส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการของภาครัฐกับธนาคารออมสิน ในสังกัดเขตสุราษฎร์ธานี 2 เลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างจากลูกค้าที่ใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการกับธนาคารออมสิน ทั้งประเภทการกู้ใหม่ และการกู้เพิ่มเติม มีประชากรจำนวน 5,878 คน ในสังกัดเขตสุราษฎร์ธานี 2 ทั้ง 12 สาขา โดยการเก็บตัวอย่าง ซึ่งคำนวณตามวิธีของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) จำนวน 375 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติการวิเคราะห์ (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) การใช้ (Regression Analysis) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
จากการศึกษา พบว่า ความต้องการส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ ด้านบุคลากร และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการของภาครัฐกับธนาคารออมสิน ในสังกัดเขตสุราษฎร์ธานี 2 อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ยาวนาน รองลงมา คือ การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการให้บริการขอสินเชื่อ ส่วนข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อสวัสดิการของธนาคาร ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการของภาครัฐกับธนาคารออมสิน ในสังกัดเขตสุราษฎร์ธานี 2 พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการ เรื่องวัตถุประสงค์ในการขอกู้สินเชื่อสวัสดิการ และวงเงินกู้ที่ได้ขอสินเชื่อ (ทั้งวงเงินเดิมและวงเงินใหม่) ที่แตกต่างกัน มีผลกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการของภาครัฐกับธนาคารออมสิน ในสังกัดเขตสุราษฎร์ธานี 2 อีกทั้งยังพบว่าความต้องการส่วนประสมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำมาก กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อสวัสดิการของภาครัฐกับธนาคารออมสิน ในสังกัดเขตสุราษฎร์ธานี 2
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๓ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม