กลยุทธ์เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน ของกิจการร้านกาแฟ Fan Coffee ในพื้นที่ถนนศาลาแดง
Abstract
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาหาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดบริการที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องดื่มกาแฟในกิจการร้านกาแฟของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ถนนศาลาแดง 2) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดบริการที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องดื่มกาแฟในกิจการร้านกาแฟของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ถนนศาลาแดง และ 3) สร้างกลยุทธ์ในความได้เปรียบทางการแข่งขันของกิจการร้านกาแฟ Fan coffee ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดบริการที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มกาแฟภายในกิจการร้านกาแฟ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริโภคกาแฟในพื้นที่ถนนศาลาแดงและผู้บริโภคภายในกิจการร้านกาแฟ Fan Coffee ทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง แบบสอบถามด้านพฤติกรรมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ผล จากผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคนั้นให้ความสำคัญต่อตัวแปรด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีความสะดวกและรวดเร็ว ด้านการจัดการพนักงานหรือบุคคลที่มีความสุภาพในการบริการและมีอัธยาศัยดี ด้านสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและด้านกระบวนการในการให้บริการที่ถูกสุขอนามัย
ในการกำหนดกลยุทธ์ผู้ศึกษาได้ใช้กลยุทธ์ทั้งสิ้น4แนวทางได้แก่ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์การเจาะตลาด (SO)ในการพัฒนาตลาดและเจาะตลาดโดยการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายร่วมไปกับการจัดโปรโมชั่น ได้แก่ การจัดส่งถึงที่ในพื้นที่(Delivery) เป็นต้น แนวทางที่2 กลยุทธ์การพัฒนาตลาด (WO) ในการการกระตุ้นผู้บริโภคให้ได้เห็นสินค้าและเข้ามาใช้บริการผ่านการจัดโปรโมชั่นและโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะช่วยเพิ่มส่วนครองตลาดให้มากขึ้นโดยจะส่งผลต่อยอดขายสินค้าและการเติบโตของกิจการ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ (ST) โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นสูตรกาแฟใหม่ให้เป็นเป็นเอกลักษณ์ประจำร้าน ส่งผลให้กิจการหรือแบรนด์เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้กำไรจากการขายเครื่องดื่มกาแฟของกิจการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย และ แนวทางที่ 4 กลยุทธ์มุ่งเน้นต้นทุนต่ำ (WT) โดยใช้กลยุทธ์ระดับธุรกิจ จะเป็นกลยุทธ์แบบมุ่งเน้นต้นทุนต่ำ โดยทำการปรับเปลี่ยนเมนูตามความต้องการของลูกค้า กลยุทธ์นี้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในส่วนสินค้าทดแทนที่มีในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้ยอดขายสินค้าเพิ่มมากขึ้นจากเดิม
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม