ความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตจำนวน 500 คน แล้ววิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ T-Test, F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ผลการศึกษาพบว่า
1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า นักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มคณะที่แตกต่างกันมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ กลุ่มคณะ และระดับชั้นปี ที่แตกต่างกันมีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชา ด้านการแพทย์ และด้านประโยชน์แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ กลุ่มคณะ และเกรดเฉลี่ยที่แตกต่างกันมีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชา ด้านสันทนาการแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม