การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้โลจิสติกส์และ Application ธุรกิจรับเหมาต่อเติม กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด xxx
Abstract
บทความนี้ทำการนำเสนอกรณีศึกษา การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้โลจิสติกส์และApplication ธุรกิจรับเหมาต่อเติมกรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด xxx เพื่อต้องการนำ Logistic activity ในการจัดการเพื่อลดความผิดพลาดและลดกิจกรรมการทำงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่มาตรฐานคุณภาพที่คาดหวังไว้เหนือคู่แข่ง กับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจรับเหมาต่อเติมมีการแข่งขันสูง โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาและผลของการศึกษาดังนี้
1.การนำเสนอการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในคลังสินค้า ได้ศึกษาและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของสินค้าโดยนำทฤษฎี ABC Analysis ออกแบบรูปแบบการจัดวางสินค้า และทำการจับเวลาในการค้นหาสินค้าหลังการปรับปรุง ส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการค้นหารวมเร็วขึ้น 73% เหลือเพียง 1.70 นาที ,มูลค่า dead stock สะสมลดลง 98.7% และมูลค่าสินค้าสะสมลดลง 6% หลังปรับปรุง 3 เดือน เหลือเพียง 1,890,870.45บาท
- การนำเสนอกระบวนการการใช้ทรัพยากรและการดำเนินงานในธุรกิจอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคนิค ECRS มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน หลังจากการปรับปรุงโดยการลดและรวมกระบวนการที่ซ้ำซ้อน สามารถลดเวลากระบวนการการออกใบเสนอราคาลงได้ จาก14ชั่วโมง/Po เป็น 2 ชั่วโมง 10 นาที, กระบวนการติดตามสถานะของโครงการมีเครื่องมือ S-Curve เพื่อใช้ในการควบคุมงานที่เกิดขึ้นจริงให้ตรงกับแผนที่วางไว้และกระบวนการประเมินผู้รับเหมาช่วง ด้วยแบบประเมินที่อ้างอิงทฤษฎีประเมินซัพพลายเออร์ Q C D S
3.การวิเคราะห์การประมาณต้นทุนและเวลาของกิจกรรมในโครงการ เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างธุรกิจใหม่ นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ได้นำแนวคิด Growth Strategy ,BCG Analysis และการวิเคราะห์โซ่อุปทาน ซึ่งผลลัพธ์ได้แก่ การก่อสร้างคอนโดที่มีอุปสงค์และกำไร ณ ปัจจุบันค่อนข้างสูง จึงทำการวิเคราะห์ผลทางการเงินที่จะได้รับ ซึ่งสามารถสร้างกำไรให้กับองค์กรได้ถึง 4-6 เท่า/กำไรเดิม/ปี
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม