ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการส่งออกสินค้า กรณีศึกษา : ไทย – กัมพูชา
Abstract
การศึกษาความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจส่งออกสินค้าไปยังประเทศกัมพูชา มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาสาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขปัญหา ของธุรกิจส่งออก เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน โดยทำการเปรียบเทียบตัวเลขส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศกัมพูชาจำนวน 15 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2562 เพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุที่ยอดขายและรายได้ของผู้ประกอบการไทยลดลง ซึ่งผลการจากศึกษาพบว่าสาเหตุที่ยอดขายและรายได้ผู้ประกอบการไทยลดลงเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน เงินบาทมีการแข็งค่า มากกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาค จึงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยโดยตรง ผู้ศึกษาจึงหาแนวทางลดผลกระทบ และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนโดยโดยใช้แนวทางในการแก้ปัญหา 3 แนวทาง คือ ทางเลือกที่หนึ่ง ใช้เงินสกุลท้องถิ่นคือ เรียล (Riel) กัมพูชา ในการซื้อขายสินค้าโดยตรงกับผู้ประกอบการไทย ทางเลือกที่สองคือ คือ การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร (Forward) เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนแนวทางแก้ปัญหาสุดท้าย คือ การ ออกแบบ สินค้าใหม่ ที่มีความแตกต่าง และ มีราคาสูง มีความยืดหยุ่นต่อราคาสูง
ผลจากการศึกษาพบว่า แนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น คือการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร (Forward) ณ วันที่ กำหนดไว้ในอนาคต ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนและจำนวนเงินที่ได้ตกลงไว้ ณ ปัจจุบัน ซึ่งวิธีการนี้ สามารถป้องกันความเสี่ยงจากการขาดทุน หรือรายได้ที่ลดลงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจ มีแนวทางที่ชัดเจน และสามารถรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม