การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณสินเชื่อภาคครัวเรือน
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการให้สินเชื่อภาคครัวเรือนการศึกษาความสัมพันธ์ครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้ข้อมูลจากปริมาณสินเชื่อของภาคครัวเรือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2561 โดยเก็บข้อมูลเป็นรายเดือน จำนวน 144 เดือน ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณสินเชื่อภาคครัวเรือน เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Pool data) โดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์แล้วนำตัวแปรต่างๆ ที่ได้มาสร้างแบบจำและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Independent variables) และตัวแปรตาม (Dependent variables) โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple linear regression) ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares : OLS) และการคำนวณค่าทางสถิติของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในรูปแบบสมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple linear regression) มาทำการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระต่าง ๆ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Coefficient Correlation) ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณสินเชื่อภาคครัวเรือนมีความความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 กับ อัตราผลตอบแทนรัฐบาลและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญระดับทางสถิติที่ 0.01 กับลอกาลิทึมปริมาณเงินฝากภาคครัวเรือน และ ลอกาลิทึมของอัตราแลกเปลี่ยนในทิศทางตรงกันข้าม
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม