แนวทางการบริหารการจัดการโครงการไม่ให้เกิดความล่าช้า กรณีศึกษาโครงการ New Custody Metering LPG โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) บริหารจัดการโครงการให้มีความน่าจะเป็นแล้วเสร็จภายใน 270 วัน มากกว่าร้อยละ 99 และใช้ค่าใช้จ่ายในการเร่งรัดโครงการที่ต่ำที่สุด และ 2) ประยุกต์ใช้เครื่องมือ CPM/PERT โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากเอกสารประมูลงานจัดจ้างนี้และการสัมภาษณ์ นำข้อมูลมาจัดการบริหารตามทฤษฎี Project Management วิเคราะห์หาเส้นทางวิกฤติและความน่าจะเป็นโครงการผ่าน CPM/PERT และวิเคราะห์การเร่งรัดงานบนเส้นทางวิกฤติโดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการเร่งรัดงานต่อหนึ่งหน่วยเวลา ผลการศึกษา พบว่า โครงการ New Custody Metering LPG โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง มีความน่าจะเป็นที่จะแล้วเสร็จภายใน 266 วัน เท่ากับ 68.79% ซึ่งมีความเสี่ยงที่โครงการจะล่าช้า โดยมี 8 ทางเลือกในการเร่งรัดงาน ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ ทางเลือกที่ 2 การเร่งรัดกิจกรรม C (3D Model For Review/Approve) และกิจกรรม A (Design Routing and GA Drawing For Review/Approve) ทำให้โครงการใช้ระยะเวลา 245 วัน และมีความน่าจะเป็นของโครงการแล้วเสร็จตามกำหนดเท่ากับ 99.90% และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติ 17,692 บาท ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลจะยอมรับข้อเสนอแนะของ ปตท. ต่อการเร่งรัดโครงการ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมภายใต้ความรับผิดชอบของผู้รับเหมาที่ไม่มากเกินไป
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม