แนวทางการเพิ่มยอดเงินฝากออมทรัพย์ของลูกค้า ธ.ก.ส.สาขาจอหอ จังหวัดนครราชสีมา ให้มียอดเงินคงเหลือไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท
Abstract
การค้นคว้าอิสระเรื่อง แนวทางการเพิ่มยอดเงินฝากของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาจอหอ จังหวัดนครราชสีมา ให้มียอดคงเหลือไม่ต่ำกว่า 1,000 บาททุกบัญชี เพื่อสนองนโยบายของธนาคารที่มีการรณณรงค์ให้ทุกสาขาลดจำนวนบัญชีเงินฝากที่มีเงินคงเหลือต่ำกว่า 1,000 บาท ในทุกเดือน ซึ่งธนาคารมีเป้าหมายให้ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมา และหาแนวทางเพื่อเพิ่มยอดเงินฝากให้ธ.ก.ส.สาขาจอหอ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการออม สาเหตุที่ทำให้ลูกค้าของธ.ก.ส.สาขาจอหอ ไม่สามารถคงยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินฝากไว้ให้ไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท และหาแนวทางการเพิ่มยอดเงินฝากออมทรัพย์ โดยศึกษาถึงสถานการณ์ทั่วไปขององค์กร การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ ได้แก่ ลูกค้าธ.ก.ส. สาขาจอหอ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกตัวอย่างที่ผู้ตอบให้ความร่วมมือ วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการออมของลูกค้าของธ.ก.ส.สาขาจอหอ จังหวัดนครราชสีมา มีการออมสม่ำเสมอทุกเดือนและการออมส่วนใหญ่จะออมแบบเก็บไว้กับตนเองเพื่อสะดวกในการใช้จ่ายยามฉุกเฉินและออมกับสถาบันการเงิน ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่มีรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจึงทำให้ไม่สามารถออมเงินไว้ได้ และลูกค้าเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจผลิตภัณฑ์ของธนาคาร แนวทางการเพิ่มยอดเงินฝากคือ พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือหากต่ำกว่า 1,000 บาทเชิญชวนให้ลูกค้าฝากเพิ่มด้วยความสมัครใจ พนักงานสินเชื่อเมื่อออกไปประชุมลูกค้าประชาสัมพันธ์ถึงผลดีที่คงยอดบัญชีเงินฝากไว้ไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ว่าจะไม่โดนหักค่ารักษาบัญชีเมื่อมีเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือมีเงินโอนเข้ามาบัญชีจะยังคงใช้ได้ อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจและให้ความสำคัญกับการออมเงิน
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม