เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนการลงทุนและความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ระหว่างค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไร (PE) และอัตราส่วนการเติบโตของกำไร (PEG) ของกลุ่มหลักทรัพย์ใน SET 100

  • ชนานาถ เทศวิเชียรชัย
  • สมพร ปั่นโภชา
Keywords: PE Ratio, PEG Ratio, Sharpe Ratio, Dividend Yield, อัตราการเติบโตของกำไร

Abstract

เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการนำค่า PE Ratio มาใช้ในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุนหรือบอกความถูกความแพงของหุ้นนั้นๆ แต่ค่า PE Ratio อาจจะไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้นขาขึ้นหรือขาลง หุ้นที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นหรือหุ้นที่มีการเติบโตน้อยลง เช่น หุ้นที่มี PE ต่ำ แต่เป็นหุ้นที่อยู่ในขาลงหรือมีการเติบโตที่ลงลดก็ไม่น่าสนใจเท่ากับหุ้นที่มี PE สูงแต่อยู่ในขาขึ้นหรือมีการเติบโตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงใช้ค่า อัตราการเติบโตของกำไร(Earnings Growth) เฉลี่ยมาใช้ในการคำนวณค่า PEG Ratio โดยนำอัตราการเติบโตของกำไร (Earnings Growth) เฉลี่ย 5 ปี มาหาร PE Ratio ก็จะได้ค่า PEG Ratio ออกมา และถูกนำมาใช้ในการคัดเลือกหุ้น SET 100 เข้ามาในพอร์ตการลงทุน และเปรียบเทียบระหว่างค่า PE Ratio และ PEG Ratio โดยใช้ Sharpe Ratio เป็นตัววัดว่าเครื่องมือตัวไหนสามารถให้ค่าผลตอบแทนได้ดีกว่า ซึ่งค่าที่ควรจะเป็นของ PEG Ratio ควรเท่ากับ 1 หรือน้อยกว่า 1 แต่ไม่น้อยกว่า 0     ( 0 < PEG < 1 )

จากผลการศึกษาพบว่า พอร์ตการลงทุนที่ใช้ค่า PEG Ratio ในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุนสามารถให้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าพอร์ตการลงทุนที่ใช้ค่า PE Ratio แต่ก็ให้ความเสี่ยงที่มากกว่าด้วยเช่นกัน งานวิจัยชิ้นนี้จึงใช้ค่า Sharpe Ratio เข้ามาดูความเหมาะสมระหว่างอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยง ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ใช้ค่า PEG Ratio ก็สามารถให้ค่า Sharpe Ratio ที่มากกว่าหรือเหมาะสมกว่าพอร์ตการลงทุนที่ใช้ค่า PE Ratio และเมื่อนำค่า Dividend Yield เข้ามาเพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการคัดเลือกหุ้น ค่า PEG Ratio ก็ยังสามารถให้ค่า Sharpe Ratio ที่เหมาะสมกว่าแต่มีค่าความเสี่ยงที่ไม่ได้แตกต่างกันมาก

Published
2020-08-19

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##

1 2 3 4 5 > >>