การวิจัยและสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิกแบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริม การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของพลเมืองยุคดิจิทัลเนทีฟ สำหรับเด็กประถมศึกษา
Abstract
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่ออินโฟกราฟิกแบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของพลเมืองยุคดิจิทัลเนทีฟ สำหรับเด็กประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูล และการผลิตสื่อ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อมูลเอกสาร 2) ข้อมูลประเภทบุคคล แหล่งข้อมูลการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพญาไท รวมถึงกลุ่มผู้มีประสบการณ์ในด้านการศึกษา และการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ โดยหลังจากที่ทำการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลประเภทเอกสาร และข้อมูลประเภทบุคคลแล้ว ผู้วิจัยจึงได้นำข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง มาดำเนินการเป็นแนวทางในการออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกแบบปฏิสัมพันธ์
จากผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการผลิต และออกแบบสื่อสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ควรมีลักษณะเป็นสื่อมัลติมีเดีย ที่เป็นสื่อในรูปแบบโปสเตอร์ และวิดีโอโมชั่นกราฟิก ที่มีเนื้อหาที่ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์การ ออกแบบ และผลิตสื่ออินโฟกราฟิกแบบปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์อินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และสื่อวิดีโอโมชั่นกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล มีจำนวน 2 ตอน คือ เรื่องระวังนะเว็บปลอม และเรื่องภัยร้ายโซเชียลมีเดีย เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของพลเมืองยุคดิจิทัลเนทีฟ สำหรับเด็กประถมศึกษา โดยมีขั้นตอนกระบวนการผลิต 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผนการเตรียมการ (Planning) 2) ขั้นการผลิต (Production) 3) ขั้นหลังการผลิต (Post-Production) และ 4) การทดสอบ และประเมินผล (Post-Test and Evaluation) ผลการศึกษาพบว่า การใช้สื่ออินโฟกราฟิกแบบปฏิสัมพันธ์ ส่งผลให้นักเรียนที่ได้ใช้งานสื่อ มีความสนใจกับสื่อ และเกิดความเข้าใจถึงการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของพลเมืองยุคดิจิทัลเนทีฟ สำหรับเด็กประถมศึกษา มีคุณภาพสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้จริง และมีประสิทธิภาพ
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม