ปัจจัยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี เขตเลือกตั้งที่ 4
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ศึกษาปัจจัยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี เขตเลือกตั้งที่ 4 (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยภูมิหลังประชากรที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี เขตเลือกตั้งที่ 4 โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม สำหรับประชาชนใน เขตเลือกตั้งที่ 4 การศึกษางานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยในการปัจจัยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี เขตเลือกตั้งที่ 4 ของประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random) จำนวน 399 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ t (t - test), สถิติ One – way ANOVA (F- test) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ (Least Significant Difference : LSD) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อปัจจัยในการลงคะแนนเสียงของประชากร ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยในการลงคะแนนเสียงในรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านผู้สมัครรับการเลือกตั้งที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง ปัจจัยด้านพรรคการเมืองที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง ปัจจัยด้านการรณรงค์หาเสียงที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม