พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 กรณีศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตที่ 2 และเขตที่ 5
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 กรณีศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตที่ 2 และเขตที่ 5 ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 399 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนเขตที่ 2 และเขตที่ 5 จังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยลงคะแนนเสียงจากปัจจัยด้านพรรคการเมือง มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านตัวบุคคล และด้านปัจจัยการหาเสียง ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพ และเขตเลือกตั้งที่ต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ยกเว้น เพศ อายุ การศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกตั้งไม่แตกต่างกัน
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๓ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม