ความสามารถในการจับจังหวะการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยดัชนีบ่งชี้ MACD, Bollinger Bands และ RSI
Abstract
การศึกษาอิสระเรื่อง “ความสามารถในการจับจังหวะการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยดัชนีบ่งชี้ MACD, Bollinger Bands และ RSI” มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถในการจับจังหวะซื้อขายราคาดัชนีหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : SET ด้วยดัชนีบ่งชี้ 3 ชนิด ได้แก่ Moving Average Convergence Divergence: (12, 26, 9), (5, 35, 9), (20, 50,10) และ(15, 60, 10), Bollinger Bands: (20, 2SD), (10, 2SD), (30, 2SD) และ(20, 1.8SD) และRelative Strength Index:
(70, 30), (60, 30), (65, 35) และ(65, 40) โดยทำการจำลองระบบการซื้อขายแบบอัตโนมัติ เพื่อวัดประสิทธิภาพในแต่ละดัชนีบ่งชี้ ทั้งหมด 12 ประเภท โดยใช้การพยากรณ์ราคาหลักทรัพย์ในช่วงเวลา 3 ปี และทำการทดสอบโดยสมมุติสภาวะเศรษฐกิจ 3 แบบ ได้แก่ ภาวะตลาดขาขึ้น, ภาวะตลาดขาลง และภาวะตลาดพักตัวออกข้าง ในช่วงเวลา 1 ปี โดยใช้ข้อมูลราคาปิด แบบรายวัน ตั้งแต่ปีค.ศ. 2010 – 2017
จากการศึกษาพบว่าดัชนีบ่งชี้ที่สามารถจับจังหวะในการเข้าซื้อได้แม่นยำมากที่สุดคือ Bollinger Bands
(30, 2SD) โดยมีโอกาสสร้างผลกำไรอยู่ที่ 63 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีความเสี่ยงมากที่สุดเช่นกัน โดยดัชนีบ่งชี้ที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดคือ MACD(5, 35, 9) และการทดสอบในภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกันพบว่าในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้นเป็นภาวะเดียวที่สามารถลงทุนแล้วมีโอกาสสร้างกำไรได้ โดยมีความสามารถใกล้เคียงกันในทุกดัชนีบ่งชี้ซึ่งมีโอกาสอยู่ที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนภาวะอื่นๆนั้นไม่มีดัชนีบ่งชี้ชนิดใดที่จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สามารถใช้ในการช่วยตัดสินใจในการซื้อขายเป็นครั้งคราวได้ ซึ่งก็มีความเสี่ยงที่สูงกว่าในภาวะตลาดขาขึ้น
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม