การศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการเพื่อการแก้ไขปัญหา ยอดสินเชื่อสาธารณูปโภค และการบริการ กรณีศึกษา ธนาคารธนชาต สาขาเซ็นทรัลพลาซาสุราษฎร์ธานี
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการและศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้สินเชื่อสาธารณูปโภคและการบริการ เพื่อเพิ่มยอดสินเชื่อของธนาคารธนชาต สาขาเซ็นทรัลพลาซาสุราษฎร์ธานี โดยเลือกใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) รวมถึงปัจจัยลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการด้านสินเชื่อของผู้บริโภค และนำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ในการวิเคราะห์ แนวทางปรับปรุงการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพการบริการ เพื่อให้รองรับการความต้องการของผู้บริโภคโดยประชากรที่ผู้วิจัยทำการศึกษา คือ ผู้ที่เคยใช้บริการด้านสินเชื่อสินเชื่อของ ธนาคารธนชาต สาขาเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี ซึ่งทำการสำรวจผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งหมด 10 ชุด
ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 31–40 ปี การศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท สถานะภาพสมรส รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป นอกจากนี้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการในการเลือกใช้บริการสินเชื่อสาธารณูปโภคและการบริการของ ธนาคารธนชาต สาขาเซ็นทรัลพลาซาสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร ในส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่สาธารณูปโภค และการบริการ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่สาธารณูปโภค และการบริการ มีความสัมพันธ์กันทุกด้าน
จากผลการวิจัยเห็นได้ว่า ประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม ได้รับข่าวสารจากทางธนาคารน้อยมาก ทั้งทางด้าน เว็บไซต์ของธนาคาร และการประชาสัมพันธ์จากพนักงาน จึงทำให้ยอดขายของสินเชื่อสาธารณูปโภค และการบริการลดน้อยลง ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาจึงจะเน้นไปด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคลากร จึงได้ดำเนินการโดยประชาสัมพันธ์โครงการ แคมเปญ หรือ โปรโมชั่นต่าง ๆ ที่ทางธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ได้คิดขึ้น ให้ออกสู่ตลาดให้มากที่สุด ให้คนในพื้นที่ รับรู้มากที่สุด พนักงานของสาขาต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการรับทราบโดยทั่วกัน ซึ่งจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบทั้งผู้ใช้บริการภายในสาขา และภายนอกสาขาทั้งลูกค้าเดิม และลูกค้าใหม่
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม