แนวทางการพัฒนาระบบการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ไทย-กัมพูชา ภายในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ไมลอทท์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการสื่อสาร และการปรับตัวในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระหว่างหัวหน้างานกับพนักงานระดับปฏิบัติการที่เป็นแรงงานต่างด้าว และเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในองค์กร โดยใช้กรอบแนวคิดด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและด้าน แนวปฏิบัติที่ดี โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร หัวหน้าพนักงานชาวไทย 3 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการชาวต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา จำนวน 294 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามภาษาเขมร ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจแบบสอบถามภาษาไทย พบว่ามีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .27 - .80 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า สภาพการสื่อสาร และการปรับตัวในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระหว่างหัวหน้างานกับพนักงานระดับปฏิบัติการที่เป็นแรงงานชาวกัมพูชา โดยรวมและรายด้านมีการสื่อสารในระดับมากทุกด้าน และผลการเปรียบเทียบคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการชาวกัมพูชา ที่มีต่อสภาพการสื่อสาร และการปรับตัวในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ และระยะเวลาที่ทำงานในบริษัท โดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม คือ รูปแบบการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมจากบนลงล่าง และรูปแบบการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมจากล่างขึ้นบน แนวทางการพัฒนาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของพนักงานแรงงานต่างด้าว คือ รูปแบบการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมแนวราบ
- บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชา (Peer review) ในรูปแบบไม่มีชื่อผู้เขียน (Double-blind peer review) อย่างน้อย ๒ ท่าน
- บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นข้อค้นพบ ข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน และผู้เขียนเจ้าของผลงาน ต้องรับผิดชอบต่อผลที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น
- ต้นฉบับที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการตรวจสอบคำพิมพ์และเครื่องหมายต่างๆ โดยผู้เขียนเจ้าของบทความก่อนการรวมเล่ม